Tuesday, September 10, 2013

แนวทางการใช้งานความถี่ 28-29.7MHz ของพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น

จากที่ กสทช ได้เห็นประโยชน์และความสำคัญของนักวิทยุสมัครเล่น และได้พิจารณามีความเห็นแล้วว่าสมควรให้พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นสามารถใช้งานความถี่ย่าน 10 เมตร ความถี่ 28.000 - 29.700MHz ด้วยมีวัตถุประสงเพื่อใช้เป็นความถี่สำหรับการศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารระดับนานาชาติว่ามีหลักปฏิบัติอย่างไร เพื่อเป็นแรงจูงใจนำไปสู่การพัฒนาตนเองเลื่อนระดับไปสู่การเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นระดับที่สูงขึ้น

แต่เนื่องด้วยพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นที่ผ่านการสอบ และการอบรมและสอบ ที่ผ่านมาทั้งหมด ยังไม่มีความรู้และความเข้าใจที่ดีเพียงพอที่จะเข้าใช้งานความถี่ใหม่ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมากกับความถี่ 144MHz ที่ทั้งหมดคุ้นเคยอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสายอากาศ ลักษณะการแพร่กระจายคลื่น เทคนิคและวิธีการติดต่อสื่อสารแบบสากล การแลกเปลี่ยนบัตรยืนยันการติดต่อสื่อสาร (QSL Card) และที่สำคัญที่สุดแผนการใช้งานความถี่ย่าน 10m หรือ Band plan ที่จะกำหนดให้นักวิทยุสมัครเล่นได้ทราบว่าช่วงความถี่ใด สามารถใช้งานประเภทการติดต่อสื่อสารแบบใดได้บ้าง

ด้วยเหตุนี้เองจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นที่จะเข้าใช้งานความถี่ใหม่นั้นต้องมีความพร้อม มีความรู้ ความเข้าใจที่ดีเพียงพอที่จะไม่ก่อนให้เกิดการรบกวนระหว่างกัน รวมไปถึงการรบกวนระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นความถี่ที่สามารถใช้ติดต่อสื่อสารได้ไกลข้ามประเทศ

และการที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นจะใช้งานความถี่ใหม่ จำเป็นจะต้องได้รับการอนุญาตเพิ่มเติมจาก กสทช ด้วยอยู่แล้ว ไม่สามารถเข้าใช้งานได้ก่อนที่จะได้รับอนุญาตเพิ่มเติม

ดังนั้นจึงมาคิดต่อว่าจะทำอย่างไรให้นักวิทยุสมัครเล่นที่สนใจได้รับความรู้เพิ่มเติม ซึ่งก็มีหลายวิธี เช่น

ทำหนังสือหรือคู่มือ แล้วเผยแพร่ออกไปให้อ่าน และศึกษา แล้วกลับมาสอบเพื่อรับใบอนุญาตเฉพาะความถี่ 10m วิธีนี้เมื่อคิดถึงการจัดการแล้วก็จะยุ่งยากว่าใครจะเป็นผู้จัดการสอบ กสทช ก็มีภารกิจที่ต้องทำมากอยู่แล้ว ไม่มีเวลาทำทำข้อสอบ ตรวจข้อสอบ ประกาศผลสอบ คงไม่ใช่หน้าที่ กสทช เพราะหน้าที่เขาคือ ออกใบอนุญาตและกำกับดูแลให้เป็นไปตามใบอนุญาต

ก็ได้คิดต่อไปว่าถ้าอย่างนั้นให้องค์กรใดสักองค์กรหนึ่งดำเนินการได้หรือไม่ ซึ่งสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (RAST) เป็นองค์การตัวแทนของวิทยุสมัครเล่นไทยในระดับนานาชาติ ที่เป็นสมาชิกของ International Amateur Radio Union (IARU) มีบุคลากรที่มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่น ในความถี่ย่าน 10m เป็นอย่างดี น่าจะทำหน้าที่นี้ได้

การจัดสอบโดยที่นักวิทยุสมัครเล่นจะต้องเดินทางมาจากทั่วประเทศ หรือไปจัดสอบทั่วประเทศนั้น เป็นการเสียเวลา เสียเงินจำนวนมาก รวมถึงต้องใช้บุคลากรและเจ้าหน้าที่จำนวนมาก น่าจะมีวิธีการที่ดีกว่านี้หรือเปล่าในการให้ความรู้กับนักวิทยุสมัครเล่นจากทั่วประเทศ ซึ่งก็จะพบว่าปัจจุบันเรามีนักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางที่เป็นสมาชิกของ RAST กระจายอยู่ทั่วประเทศอยู่แล้ว และนักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางเหล่านี้ก็เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานความถี่ย่าน 10m เป็นอย่างดีอยู่แล้ว

พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางเหล่านี้น่าจะสามารถให้ความรู้กับพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นที่สนใจได้ และอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง เพียงแต่ RAST จะต้องรับรองให้พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางที่ประสงค์จะอาสาเข้ามาทำหน้าที่นี้เป็นตัวแทนของ RAST ในการให้ความรู้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด

จากนั้นอาสาสมัครจะต้องส่งข้อมูลต่างๆ มาให้ RAST เพื่อออกหนังสือรับรอง และนำไปประกอบการขออนุญาตใช้งานความถี่ 10m กับ กสทช ต่อไป

สิ่งที่ต้องกำหนดต่อไปคือ

จัดตั้งคณะอนุกรรมของสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปภัมภ์ มาทำหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. กำหนดหลักเกณฑ์การเป็นอาสาสมัคร
  2. กำหนดหน้าที่ของอาสาสมัคร
  3. พิจารณารับรองอาสาสมัครตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
  4. พิจารณายกเลิกการรับรองอาสาสมัคร
  5. จัดทำคู่มือการใช้งานความถี่ 28-29.7MHz
  6. ออกหนังสือรับรองให้กับพนักงานวิทยุสมัครเล่น
  7. จัดทำและปรับปรุงข้อมูลรายชื่ออาสาสมัครและผู้ที่ได้รับหนังสือรับรองและเผยแพร่
  8. พิจารณารายงานการใช้ความถี่จากอาสาสมัคร

ยังไม่จบเพียงเท่านี้ยัง หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของอาสาสมัครก็คือจะต้องเฝ้าฟังและรายงานการใช้ความถี่ที่ไม่เหมาะสมมายังคณะอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณาประกอบการออกหนังสือรับรองสำหรับยื่นประกอบการขอขอใบอนุญาตครั้งต่อไป เมื่อใบอนุญาตของพนักงานวิทยุสมัครเล่นหมดอายุ

1 comment:

  1. ขออนุญาตฝากลิงค์นะคะ
    ลุ้นเดิมพันไปกับเกม บาคาร่าออนไลน์ เล่นคาสิโนบนมือถือ เล่นผ่าน App บน iPad iPhone และ มือถือ ระบบ Android ที่นี่เลยค่ะ
    https://www.111player.com

    ReplyDelete