Monday, September 9, 2013

หมวด 7 การบันทึกข้อความการติดต่อสื่อสาร

หมวด 7
การบันทึกข้อความการติดต่อสื่อสาร

หมวดนี้ดูๆ ไปก็ไม่น่าจะมีอะไรเป็นประเด็น เป็นเพียงการเขียนขึ้นไว้ตามหลักการของการกำกับดูแลของหน่วยงานกำกับดูแลเท่านั้น และเนื่องจากมีการเพิ่มประเภคของสถานีวิทยุสมัครเล่นพิเศษเพิ่มเข้ามาจึงได้กำหนดเพิ่งไว้ว่าสถานีวิทยุสมัครเล่นเหล่านี้จะต้องบันทึกข้อความการติดต่อสื่อสารเอาไว้ด้วย

  1. สถานีวิทยุขององค์กรวิทยุสมัครเล่น (Club station) 
  2. สถานีวิทยุสมัครเล่นสำหรับกิจกรรมพิเศษ (Special event station) 
  3. สถานีวิทยุสมัครเล่นชนิดประจำที่ 

ซึ่งรายละเอียดที่ต้องทำการจดบันทึกนั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก มีจุดสังเกตเพียง 2 จุดเท่านั้นคือ

เก่า ใหม่
ความถี่วิทยุ และกำลังส่งของเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ ความถี่วิทยุ และกำลังส่งของเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้งานของผู้รับและผู้ส่ง

จุดแรกเพิ่มว่าต้องจดบันทึกกำลังส่งของทั้งผู้รับและผู้ส่ง ด้วย นั่นหมายความว่าต้องถามกำลังส่งของคู่สนทนาทุกครั้ง คำถามคือมันจำเป็นหรือไม่

อีกจุดที่พบคือเพิ่มว่า

"ชื่อ-สกุลของพนักงานวิทยุสมัครเล่นที่ปฏิบัติหน้าที่ในขณะนั้น"

ข้อนี้มีคำถามเกิดขึ้นว่าในกรณีของ Club station หรือ Special event station ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจที่ไม่เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่น มีโอกาสทดลองออกอากาสได้นั้น ในความหมายข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะได้ทราบว่าใครเป็นผู้ควบคุมการออกอากาสในครั้งนี้ หรือว่าต้องการทราบ ชื่อ-สกุล ของผู้ที่มาออกอากาสซึ่งอาจไม่ได้เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นก็เป็นได้ ซึ่งโดยปกติทั่วไปจะเป็น ชื่อ-สกุล ของผู้ที่ทำหน้าที่ออกอากาส ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นข้อนี้ก็ควรแก้ไขเป็น

"ชื่อ-สกุลของผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในขณะนั้น"

และได้เพิ่มระยะเวลาการจัดเก็บสมุดบันทึกจากเดิมไม่น้อยกว่า 1 ปี เพิ่มเป็นไม่น้อยกว่า 5 ปี

ท้ายสุดยังทิ้งท้ายไว้ประมาณว่า หากไม่สามารถแสดงสมุดบันทึกให้เจ้าพนักงานดูได้ ให้ผู้ที่ได้รับอนุญาตตั้งสถานีเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว กรณีมีปัญหาและต้องการตรวจสอบ



No comments:

Post a Comment