หมวด 8
การปฏิบัติในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน
ข้อนี้ก็เป็นข้อกำหนดที่จะบอกว่าพนักงานวิทยุสมัครเล่นต้องทำตัวอย่างไร กรณีเกิดเหตุจำเป็นขึ้นมา
เก่า | ใหม่ |
---|---|
ข้อ 29 ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือเกิดภัยพิบัติ ทำให้การสื่อสารสาธารณะขัดข้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ความถี่ย่านวิทยุสมัครเล่นทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อการประสานงานเกี่ยวกับการกู้ภัยหรือเพื่อบรรเทาทุกข์ และใช้เป็นข่ายสื่อสารสำรองในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือเกิดภัยพิบัติได้เท่าที่จำเป็น | ข้อ 30 ในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน คณะกรรมการมอบหมายให้สำนักงานแจ้งระงับการใช้คลื่นความถี่ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องสามารถใช้คลื่นความถี่ในกิจการวิทยุสมัครเล่นทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อการประสานงานเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และใช้เป็นข่ายสื่อสารสำรองในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินได้เท่าที่จำเป็น |
ข้อ 30 ในกรณีตามข้อ 29 ให้สถานีวิทยุสมัครเล่นที่ใช้ความถี่วิทยุอยู่ในขณะนั้นระงับการใช้ความถี่วิทยุนั้นโดยทันที | ในกรณีตามข้อ 30 ให้พนักงานวิทยุสมัครเล่นหรือสถานีวิทยุสมัครเล่นที่ใช้คลื่นความถี่อยู่ในขณะนั้นระงับการใช้คลื่นความถี่นั้นโดยทันที เว้นแต่การใช้งานเพื่อขอหรือให้ความช่วยเหลือ หรือการประสานงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในการบรรเทาสาธารณภัย |
จากใจความทั้งเก่าและใหม่ ที่เทียบเคียงให้ดูนั้น จะเห็นว่ามีการเพิ่มขั้นตอนเพื่อมอบอำนาจให้กับสำนักงานฯ ในการแจ้งระงับการใช้ความถี่ให้กับพนักงานวิทยุสมัครเล่นได้ทราบ และในข้อถัดมาที่บอกว่าให้พนักงานวิทยุสมัครเล่นที่ใช้งานความถี่อยู่ในขณะนั้นหยุดการใช้งานไปเสีย ยกเว้นกรณีจำเป็นที่ต้องขอความช่วยเหลือ หรือประสานงานที่เกี่ยวกับเหตุกรณ์ฉุกเฉินนั้นๆ
ซึ่งในเหตุการณ์จริงๆ นั้นก็เชื่อว่า สำนักงานฯ คงไม่ประกาศให้นักวิทยุสมัครเล่นเราระงับการใช้งานทุกความถี่ หรือทั้งหมด คงเป็นเพียงบางความถี่ที่จำเป็นต่อการประสานงานเท่านั้น สำหรับความถี่อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง นักวิทยุสมัครเล่นก็สามารถใช้งานไปได้ตามปกติ
ในตอนท้ายก็ยังเปิดไว้อีกว่าให้สามารถ รับ-ส่งข่าวไปยังบุคคลที่สามได้เท่าที่จำเป็นอีกด้วย
และที่มีกำหนดเพิ่มมากรณีไปตั้งสถานีเพื่อการประสานงานให้แจ้งต่อสำนังานฯ ได้ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค
No comments:
Post a Comment