Tuesday, October 2, 2018

อีก 5 ปี (ปี 2565) ประเทศไทยจะมีพนักงานวิทยุสมัครเล่นเท่าไหร่ มาเดากัน

เกิดความสงสัยว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าจำนวนนักวิทยุสมัครเล่นของประเทศไทยจะมีจำนวนเท่าไหร่ มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางอย่างไรบ้าง จึงได้พยายามรวบรวมและจดบันทึกจำนวนจากระบบสืบค้นรายชื่อผู้รับประกาศนียบัตรและใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น ของ กสทช มาตลอดทุกเดือนเป็นเวลาประมาณ 3 ปีแล้ว และจะบันทึกต่อไป (ถ้ายังสามารถทำได้)
สิ่งที่พบนั้นพบว่าจำนวนผู้ที่จะเข้ามาเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นนั้นมีจำนวนลดลง แต่ในขณะเดียวกันพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางและขั้นสูงก็ค่อยๆ เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างช้าๆ แบบต่อเนื่อง คงมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน คงไม่มีใครทราบเหตุผลที่แท้จริงได้ มีเพียงแต่การคาดการณ์หรือข้อสังเกตเท่านั้น

ตัวเลขคาดการณ์เมื่อสิ้นสุดแต่ละปีอีก 5 ปีข้างหน้า 


ซึ่งเป็นตัวเลขนับจากจำนวนพนักงานวิทยุสมัครเล่นที่ใบอนุญาตยังไม่หมดอายุ เมื่อสิ้นสุดแต่ละปี ทั้งนี้จะต้องเพิ่ม

1. จำนวนพนักงานวิทยุสมัครเล่นที่ต่อใบอนุญาตระหว่างปี 
2. จำนวนพนักงานวิทยุสมัครเล่นที่สอบได้ใหม่ในแต่ละปี

ซึ่งตัวเลขทั้ง 2 นี้ยังไม่ทราบแน่นอนต้องคอยดูไปจนถึงเวลานั้น แต่ถ้าจะให้คาดการณ์แบบไม่มีหลักอะไร คือเดาแบบง่ายๆ อาจเป็นแบบนี้ ถ้าแต่ละปีมีจำนวนผู้ต่อใบอนุญาตประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่ใบอนุญาตหมดอายุ ลองมาดูตัวเลขกันใหม่

ปี 2562 มีผู้ที่ใบอนุญาตหมดอายุจำนวน 89981-68690 = 21291 คน คาดต่ออายุ 10645 คน
ปี 2563 มีผู้ที่ใบอนุญาตหมดอายุจำนวน 68690-46700 = 21990 คน คาดต่ออายุ 10995 คน
ปี 2564 มีผู้ที่ใบอนุญาตหมดอายุจำนวน 46700-27851 = 18849 คน คาดต่ออายุ 9425 คน
ปี 2565 มีผู้ที่ใบอนุญาตหมดอายุจำนวน 27851-10733 = 17118 คน คาดต่ออายุ 8559 คน

อีกกลุ่มคือกลุ่มที่สอบผ่านใหม่ในแต่ละปี จากตัวเลขสถิติพอจะประมาณได้ว่ามีจำนวนพนักงานวิทยุสมัครเล่นใหม่แต่ละปีประมาณ 2000 คน ดังนั้น 5 ปีก็จะมีประมาณ 1 หมื่นคนที่เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นใหม่

เมื่อรวมตัวเลขคร่าวๆ ปลายปี 2565 จะมีจำนวนพนักงานวิทยุสมัครเล่นประมาณ 60357 คน (10733+10645+10995+9425+8559+10000)

ตัวเลขจำนวนนักวิทยุสมัครเล่นของไทยประมาณ 5-6 หมื่นคน อาจเป็นตัวเลขจริงของผู้ที่สนใจเป็นนักวิทยุสมัครเล่นตัวจริงเสียงจริงแล้วก็ได้ ไม่ใช่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป....

Tuesday, June 12, 2018

แนวทางการกำหนดสัญญาณเรียกขาน (Call sign assignment)

จากที่เคยนำเสนอแนวทางการกำหนดสัญญาณเรียกขานไว้ก่อนหน้านี้หลายปีแล้ว
ที่นำเสนอเมื่อปี 2558 Call sign และที่นำเสนอเมื่อ ปี 2556 แนวทางการกำหนดสัญญาณเรียกขาน
บางอย่างได้ถูกหยิบยกไปพิจารณาและปรับใช้ มาวันนี้ได้เห็นสัญญาณเรียกขานถูกกำหนดออกไปถึง E25Dxx แล้ว ซึ่งคงอีกไม่นานก็จะหมดลง
จึงขอหยิบยกเอาแนวคิดเดิมขึ้นมานำเสนออีกครั้งให้ช่วยกันคิดพิจารณาถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ที่จะใช้แนวทางนี้


ประเทภสถานีวิทยุสมัครเล่น
สัญญาณเรียกขาน
สถานีวิทยุสมัครเล่นประเภทบุคคล

   พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
HS#Baaa – HS#Bzzz และ 
E2#Baaa - E2#Bzzz
   พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง
HS#aaa – HS#zzz และ 
E2#aaa - E2#zzz 
(ยกเว้น HS0Zaa - HS0Zzz)
   พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง
HS#Ba – HS#zz และ 
E2#Ba - E2#zz
   พนักงานวิทยุสมัครเล่นภายใต้ 
   Reciprocal   Agreement
HS0Zaa - HS0Zzz
สถานีวิทยุสมัครเล่นประเภทพิเศษ

   สถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่าย
HS#Aa – HS#Az 
(# = 1-9 ยกเว้น 0)
   สถานี Club Station ขั้นต้น
E2#Aa - E2#Az 
(# = 1-9 ยกเว้น 0)
   สถานี Club Station ขั้นกลางและขั้นสูง
HS0Aa - HS0Az และ 
E20Aa - E20Az
   สถานีทวนสัญญาณ
HS#RRaa – HS#RRzz
ปัจจุบันกำหนดให้ใช้
E24AA-E24ZZ
   สถานีเชื่อมต่อโครงข่ายอื่น
HS#RLaa – HS#RLzz
ปัจจุบันกำหนดให้ใช้
E25AA-E25ZZ
   สถานี Beacon
HS#RBaa – HS#RBzz

หลักการและเหตุผล

1. เพื่อการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ หากกำหนดสัญญาณเรียกขานแบ่งแยกตามระดับขั้นของใบอนุญาต จะทำให้สามารถตรวจสอบได้ง่าย หากมีการใช้งานในความถี่ที่ไม่ได้รับอนุญาตในแต่ละขั้น เช่น หากพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง ไปใช้งานความถี่ที่กำหนดให้เฉพาะพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูงใช้เท่านั้น จะสามารถทราบได้ทันทีจากสัญญาณเรียกขานที่ใช้ การกำหนดสัญณาณเรียกขานแบบแบ่งตามใบอนุญาตนี้มีการใช้งานในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตเรีย เยอรมัน อังกฤษ และอีกหลายประเทศ

2. พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นกำหนดให้ใช้สัญญาณเรียกขานที่มี Suffix 4 ตัวอักษร ซึ่งข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศกำหนดให้สามารถทำได้ ในปัจจุบันมีประเทศออสเตเรีย กำหนดให้พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น (Foundation) ใช้สัญญาณเรียกขาน VK#Faaa ทั้งหมด และเมื่อสอบเลื่อนขั้นได้แล้วจะกำหนดสัญญาณเรียกขานที่มี Suffix 3 หรือ 2 ตัวให้ใหม่ ซึ่งการกำหนดสัญญาณเรียกขานของพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นของไทยนั้นกำหนดเป็น HS#Baaa – HS#Bzzz ซึ่ง (B หมายถึง Basic License) โดยอาจแบ่งแยกตามเขต 1 – 9 เหมือนเช่นเดิมได้หากต้องการ

3. พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางกำหนดให้ใช้สัญญาณเรียกขานที่มี Suffix 3 ตัว เมื่อพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นได้สอบเลื่อนขั้นแล้วให้ยกเลิกสัญญาณเรียกขานเดิมที่มี Suffix 4 ตัวและใช้สัญญาณเรียกขานใหม่ และสามารถรองรับการเลือกสัญญาณเรียกขานที่ว่างอยู่จากการเพิกถอนสัญญาณเรียกขาน ทั้งนี้สัญญาณเรียกขานของพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางควรสั้นลงเนื่องจากติดต่อในย่านความถี่ HF ทั้ง SSB และ CW มีความชัดเจนต่ำ ต้องการความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารจึงควรกำหนดให้สัญญาณเรียกขานสั้นลง

4. พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง กำหนดให้ใช้สัญญาณเรียกขานที่มี Suffix 3 ตัว หรือ 2 ตัวเมื่อพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางสอบเลื่อนขั้นเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูงแล้ว ให้สิทธิในการขอรับสัญญาณเรียกขาน Suffix 2 ตัวได้หากมีความประสงค์ หรือจะคงใช้ Suffix 3 ตัวไว้เช่นเดิม

5. พนักงานวิทยุสมัครเล่นชาวต่างชาติที่มาขอรับอนุญาตในประเทศไทย กำหนดให้ใช้สัญญาณเรียกขาน HS0Zaa – HS0Zzz 

6. การกำหนดสัญญาณเรียกขานให้ดำเนินการได้ทันที โดยเมื่อมีผู้มาขอรับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นใหม่ให้กำหนดสัญญาณเรียกขาน HS#Baaa ไปตามลำดับ และหากเป็นผู้ที่มาขอรับใบอนุญาตหลังจากใบอนุญาตฉบับเดิมหมดอายุลงให้สิทธิในการเลือกรับสัญญาณเรียกขานใหม่แบบ Suffix 4 ตัวหรือคงสัญญาณเรียกขานเดิมไว้ได้ หากมีความประสงค์จะเปลี่ยนสัญญาณเรียกขานแบบ Suffix 4 ตัวจะให้สิทธิในการเลือกสัญญาณเรียกขานที่ต้องการได้ หรือพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นที่ใบอนุญาตยังไม่หมดอายุแต่มีความประสงค์จะขอเปลี่ยนไปใช้สัญญาณเรียกขานแบบ Suffix 4 ตัวให้สามารถดำเนินการได้เลย โดยให้สิทธิการเลือกสัญญาณเรียกขานที่ต้องการได้

7. หากดำเนินการตามแนวทางนี้ปัญหาเรื่องการกำหนดสัญญาณเรียกขานจะถูกแก้ไข และสามารถใช้งานได้ตลอดไป ซึ่งในระยะยาวสัญญาณเรียกขานจะเข้าสู่ระบบที่กำหนดไว้นี้เอง โดยไม่ต้องมีการแก้ปัญหาใดๆ เพิ่มอีก และหากสัญญาณเรียกขานของพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นหมดลงอีกในกลุ่ม HS#Baaa ก็สามารถเลือกกลุ่มต่อไปมาใช้ได้ เช่น HS#Caaa เป็นต้น แต่หากดำเนินการมาตรการการไม่ขอรับใบอนุญาตฉบับใหม่หลังจากใบอนุญาตฉบับเดิมสิ้นสุดลงแล้วเกินกว่า 2 ปีสัญญาณเรียกขานจะถูกเพิกถอน ก็จะทำให้การบริหารจัดการสัญญาณเรียกขานเพียงพอไปตลอด

8. สถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายกำหนดให้ใช้ HS#Aa – HS#Az (# = 1-9 ยกเว้น 0)

9. สถานี Club Station ขั้นต้น กำหนดให้ใช้ E2#Aa - E2#Az (# = 1-9 ยกเว้น 0) เพื่อการแยกชัดเจนถึงสิทธิการใช้งานความถี่ ซึ่งสะดวกในการกำกับดูแลกันเองของนักวิทยุสมัครเล่น

10. สถานี Club Station ขั้นกลางและขั้นสูง กำหนดให้ใช้ HS0Aa - HS0Az และ E20Aa - E20Az

11. สถานีทวนสัญญาณ ปัจจุบันไม่มีการกำหนดสัญญาณเรียกขานให้กับสถานีทวนสัญญาณ แต่ให้ใช้สัญญาณเรียกขานของสถานีควบคุมข่ายที่ได้รับอนุญาต ซึ่งไม่เหมาะสมเนื่องจากเป็นสถานีที่แยกหน้าที่กัน และในอนาคตอาจมีสถานีทวนสัญญาณจำนวนมากในแต่ละจังหวัด กระจายไปในแต่ละพื้นที่ และความถี่ในแต่ละย่าน เช่นสถานีทวนสัญญาณความถี่ 28-29.7 MHz และ UHF (430-440 MHz) ดังนั้นแต่ละสถานีควรมีสัญญาณเรียกขานกำหนด และควรแยกออกจากสัญญาณเรียกานของสถานีควบคุมข่าย
(ปัจจุบันสถานีทวนสัญญาณได้รับการกำหนดสัญญาณเรียกขานให้ทุกจังหวัดแล้ว)

12. สถานีเชื่อมโยงโครงข่ายอื่น และสถานี Beacon ควรกำหนดสัญญาณเรียกขานประจำสถานีเหล่านี้โดยเฉพาะเพื่อการกำกับดูแลที่เป็นระบบ ไม่อนุญาตให้ใช้สัญญาณเรียกขานของตนเองในการใช้งานสถานีประเภทเหล่านี้ เนื่องจากจำเป็นต้องได้รับการอนุญาตให้เป็นไปตามประกาศฯ ที่ได้กำหนดไว้ก่อนหน้า และรวมถึงเพื่อแก้ปัญหาทางด้านเทคนิคการใช้งานวิทยุสื่อสารประเภทเสียงดิจิตอลอีกด้วย
(ปัจจุบันสถานีเชื่อมโยงโครงข่ายอื่น ได้รับการกำหนดสัญญาณเรียกขานแล้ว)


มิถุนายน 2561
HS2JFW