หมวด 4
สถานีวิทยุสมัครเล่น
มาต่อกันที่หมวดต่อไปที่ว่ากันด้วยเรื่องสถานีวิทยุสมัครเล่น ประเด็นแรกที่พบการะเปลี่ยนแปลงไปก็คือ
เก่า | ใหม่ |
---|---|
คณะกรรมการจะพิจารณาอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุสมัครเล่น เฉพาะผู้ที่ได้รับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นแล้วเท่านั้น | คณะกรรมการจะพิจารณาอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุสมัครเล่น เฉพาะผู้ที่ได้รับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นแล้วเท่านั้น โดยผู้ที่มีความประสงค์จะตั้งสถานีวิทยุสมัครเล่นนั้นต้องแสดงรายละเอียดให้สำนักงานทราบว่าเครื่องวิทยุคมนาคมที่นำมาใช้งานในสถานีวิทยุสมัครเล่นดังกล่าวเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมที่ชอบด้วยกฎหมาย |
มีการเพิ่มเงื่อนไขเข้ามาว่าต้องแสดงถึงเครื่องวิทยุที่นำมาใช้ในการขออนุญาตตั้งสถานีด้วย เหมือนว่าข้อนี้จะย้อนยุคกลับไปสู่ยุคก่อนที่ต้องมีเครื่องวิทยุก่อนถึงจะตั้งสถานีได้ ประเด็นนี้ยังไม่ชัดเจนในความต้องการ ซึ่งต้องมีการซักถามเพิ่มเติมกันต่อไปว่าอะไรคือปัญหา หรือต้องการสิ่งใดกันแน่ ถึงได้เพิ่มเงื่อนไขเข้ามาแบบนี้
"ข้อ 15 การตั้งสถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่าย สถานีวิทยุขององค์กรวิทยุสมัครเล่น (Club station) สถานีวิทยุสมัครเล่นสำหรับกิจกรรมพิเศษ (Special event station) สถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ (Repeater) หรือสถานีวิทยุสมัครเล่นที่เชื่อมโยงผ่านเครือข่ายสาธารณะ จะได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดไว้ในภาคผนวก 5 แนบท้ายประกาศนี้
สถานีวิทยุสมัครเล่นดังกล่าวให้ดำเนินการเฉพาะภายใต้การกำกับดูแลจากผู้ได้รับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นแล้วเท่านั้น"
ในข้อ 15 ของหมวดนี้กำหนดว่าสถานีวิทยุสมัครเล่นแบบใดบ้างที่ต้องได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานีตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในภาคผนวก 5 จะเห็นได้ว่าสถานีวิทยุสมัครเล่นแบบพิเศษทั้งหมดถูกกำหนดให้ต้องขออนุญาตทั้งหมด รวมไปถึงสถานีวิทยุสมัครเล่นที่เชื่อมโยงผ่านเครือข่ายสาธารณะด้วย อันได้แก่ IRLP EchoLink eQSO APRS-IGate D-STAR หรือสถานีอื่นใดที่เชื่อมโยงผ่านเครือข่ายสาธารณะ
"ข้อ 16 คณะกรรมการจะอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายได้จังหวัดละหนึ่งแห่ง และรับรองให้เป็นสถานีแม่ข่ายหลักประจำจังหวัด และหากมีการขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายมากกว่าจังหวัดละหนึ่งแห่ง ให้คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตตามความเหมาะสมเป็นกรณีไป"
อ่านข้อนี้แล้วก็ยังงงอยู่เพราะบอกว่าให้ตั้งได้จังหวัดละหนึ่งแห่ง และจะรับรองเป็ฯแม่ข่ายหลัก พอตอนท้ายมีบอกว่าถ้ามีการขออนุญาตมากกว่าจังหวัดละหนึ่งแห่งก็จะพิจารณา ก็เลยสับสนว่าแล้วจะเขียนไว้ทำไมว่าจังหวัดละหนึ่งแห่ง ถ้าวัตถุประสงค์ต้องการให้มีเพียงสถานีแม่ข่ายเดียวที่ได้รับการรับรอง ก็เขียนใหม่แบบนี้จะดีกว่ามั้ย
"คณะกรรมการจะอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายในแต่ละจังหวัดได้มากกว่าหนึ่งแห่ง และรับรองให้เป็นสถานีแม่ข่ายหลักประจำจังหวัดได้จังหวัดละหนึ่งแห่ง โดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดไว้ในภาคผนวก 5 แนบท้ายประกาศนี้"
ข้อถัดมาเป็นข้อกำหนดใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในข้อ 19
"ข้อ 19 ผู้ที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น สามารถทดลองออกอากาศโดยใช้สถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่าย สถานีวิทยุขององค์กรวิทยุสมัครเล่น (Club station) และสถานีวิทยุสมัครเล่นสำหรับกิจกรรมพิเศษ (Special event station) โดยใช้สัญญาณเรียกขานของสถานีวิทยุสมัครเล่นนั้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการฝึกฝนตนเอง และต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากผู้ได้รับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น"
ข้อนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่กำลังสนใจ จะเข้ามาเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่น มีโอกาสได้เรียนรู้ และสัมผัสว่ากิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นอย่างไร เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ มีประโยชน์มาสำหรับเด็กๆ และเยาวชน นักวิทยุสมัครเล่นสามารถจัิดกิจกรรมพิเศษขึ้นมา แล้วเปิดโอกาสให้น้องๆ ได้ทดลองออกอากาศจากสถานีได้เลย สำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้เลื่อนระดับของตนเองไปสู่พนักงานวิทยุสมัครเล่นระดับที่สูงขึ้นก็สามารถทดลอง ศึกษาได้ที่สถานี Club station ใกล้บ้านได้ก่อน รวมถึงร่วมการแข่งขันรายการต่างๆ ได้อีกด้วย แต่ที่สำคัญต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากผู้ที่เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น
ข้อพึงระวังสำหรับเรื่องนี้คือกำหนดให้ใช้ได้จากสถานีวิทยุสมัครเล่น 3 ประเภทนี้เท่านั้นนะ
ข้อพึงระวังสำหรับเรื่องนี้คือกำหนดให้ใช้ได้จากสถานีวิทยุสมัครเล่น 3 ประเภทนี้เท่านั้นนะ
- วิทยุสมัครเล่นควบคุมข่าย
- สถานีวิทยุขององค์กรวิทยุสมัครเล่น (Club station)
- สถานีวิทยุสมัครเล่นสำหรับกิจกรรมพิเศษ (Special event station)
ออกอากาศจากที่บ้านของพนักงานวิทยุสมัครเล่นทั่วๆ ไปไม่ได้นะครับ ฮึ่ม!! ไม่อย่างนั้นมั่วแน่
สถานีวิทยุสมัครสำหรับกิจกรรมพิเศษ ตามร่าง ไม่เกิน 30 วัน ต้องขออนุญาติ อันนี้เข้าใจว่าน่าจะเป็นประเภท จัด DX ยาวๆหลายวัน หรือมีกิจกรรมที่่ต้องใช้การประสานงานหลายๆวัน ถูกต้องหรือไม่ครับ ซึ่งบางกิจกรรมน่าจะได้ call sign พิเศษด้วย แต่ ถ้าเป็น กิจกรรม ประสานงานทั่วไปเช่น งานวิ่ง งานแข่งขันกีฬา ที่ใช้ระยะเวลา 1-2 วัน หรือ การทำกิจกรรม DX ตั้งสถานี Portable ชั่วคราวไม่เกิน 3 วัน ผมว่าไม่น่าจะต้องขออนุญาติ เพียงแจ้ง สถานีควบคุมข่ายน่าจะพอ และใช้ call sign ตัวเองหรือของประธานกลุ่ม ชมรม แทน เป็นหลัก น่าจะดีนะครับ
ReplyDeleteขออนุญาตฝากลิงค์นะคะ
ReplyDeleteเชิญพบกับมิติใหม่แห่งวงการ คาสิโนออนไลน์
พบกับเกมส์คาสิโนออนไลน์ อาทิ ไพ่บาคาร่า, รูเล็ต, มังกรเสือ, กำถั่ว
ที่นี่เลยค่ะ
https://www.111player.com