Friday, October 18, 2013

แนวทางการกำหนดสัญญาณเรียกขาน

ตามที่ร่างประกาศได้กำหนดไว้ว่าพนักงานวิทยุสมัครเล่นที่ใบอนุญาตขาดต่ออายุเกิน 2 ปีไปแล้วนั้น สัญญาณเรียกขานที่ถูกกำหนดให้ไว้จะถูดนำกลับไปกำหนดให้พนักงานวิทยุสมัครเล่นคนอื่นได้นั้น สาเหตุเกิดจากมีผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจำนวนมากที่ไม่ต่อใบอนุญาตหลังจากใบอนุญาตหมดอายุลง ทำให้สัญญาณเรียกขานของประเทศไทยที่มีเพียง 2 หมวด คือ HS และ E2 ใกล้จะหมดลงในไม่นานนี้ และการที่จะไปขอสัญญาณเรียกขาน (Prefix) ใหม่จาก ITU นั้นก็ไม่ง่ายเหมือนแต่ก่อน เพราะ ITU เองก็พบปัญหาเช่นเดียวกันคือไม่มี Prefix ที่จะกำหนดให้

ดังนั้นมีวิธีการเดียวที่จะทำได้คือการบริหารจัดการการกำหนดสัญญาณเรียกขานอย่างมีประสิทธิภาพ และสิ่งหนึ่งที่ควรต้องทำ และทุกๆ ประเทศก็ดำเนินการเช่นเดียวกันคือนำสัญญาณเรียกขานกลับมาใช้ใหม่ เมื่อไม่มีความประสงค์จะใช้งานต่อไปแล้วจากผู้ที่ได้รับอนุญาต โดยดูจากการที่ไ่ม่ต่อใบอนุญาตภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งนานพอสมควร

และด้วยที่ ITU เองก็ไม่มี Prefix ที่จะกำหนดให้กับประเทศที่ขอไปช่วงหลังๆ ดังนั้นจึงมีการปรับแก้ข้อกำหนดวิทยุที่เรียกว่า Radio Regulations ในหมวดที่ว่าด้วยสัญญาณเรียกขาน (Call sign) ไว้ใหม่ดังนี้

ARTICLE 19
Identification of Stations

19.67 Amateur and experimental stations

19.68 1)

– one character (provided that it is the letter B, F, G, I, K, M, N, R or W) and a single digit (other than 0 or 1), followed by a group of not more than four characters, the last of which shall be a letter, or
– two characters and a single digit (other than 0 or 1), followed by a group of not more than four characters, the last of which shall be a letter. (WRC-03)

19.68A 1A) On special occasions, for temporary use, administrations may authorize use of call signs with more than the four characters referred to in No. 19.68. (WRC-03
19.69 2) However, the prohibition of the use of the digits 0 and 1 does not apply to amateur stations.


19.67 กิจการสมัครเล่นและสถานีทดสอบทดลอง
19.68 1)
- ตัวหนังสือหนึ่งตัว (ได้แก่ B, F, G, I, K, M, N, R หรือ W) และตัวเลขหนึ่งตัว (ที่ไม่ใช่ 0 หรือ 1) ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรไม่เกินสี่ตัว ซึ่งตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวหนังสือ หรือ
- ตัวหนังสือสองตัว และตัวเลขหนึ่งตัว (ที่ไม่ใช่ 0 หรือ 1) ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรไม่เกินสี่ตัว ซึ่งตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวหนังสือ
19.68A 1A) ในบางกรณีพิเศษ การใช้งานชั่วคราว หน่วยงานกำกับดูแลอาจกำหนดให้มีตัวอักษรมากกว่าสี่ตัวได้
19.62 2) อย่างไรก็ตาม ข้อห้ามสำหรับการใช้ตัวเลข 0 และ 1 นั้นไม่นำมาใช้กับสถานีวิทยุสมัครเล่น

สรุปได้ว่าสัญญาณเรียกขานสามารถกำหนดให้มีตัวหนังสือ Suffix ได้ไม่เกิน 4 ตัว ซึ่งจากเดิมกำหนดให้ไม่เกิน 3 ตัว และสามารถใช้งานเลข 0 และ 1 ได้สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่น

สำหรับประเทศไทยนั้นสามารถกำหนดให้สัญญาณเรียกขานได้ดังนี้ HS$aaaa - HS$zzzz และ E2$aaaa - E2$zzzz ($ หมายถึงเลข 0 - 9)

ดังนั้นเพื่อการบริหารจัดการที่ดี จึงเห็นควรเสนอแนวคิดการกำหนดสัญญาณเรียกขานสำหรับประเทศไทยใหม่ดังนี้

ประเทภสถานีวิทยุสมัครเล่น สัญญาณเรียกขาน
สถานีวิทยุสมัครเล่นประเภทบุคคล
พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น HS$Naaa - HS$Nzzz และ E2$Naaa - E20Nzzz
พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง HS$aaa - HS$zzz และ E2$aaa - E2$zzz (ยกเว้น HS0Zaa - HS0Zzz)
พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง HS$Ba - HS$zz และ E2$Ba - E2$zz
พนักงานวิทยุสมัครเล่นภายใต้ Reciprocal Agreement HS0Zaa - HS0Zzz และ HS/homecall
พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง HS$Ba - HS$zz และ E2$Ba - E2$zz
สถานีวิทยุสมัครเล่นประเภทพิเศษ
สถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่าย HS$Aa - HS$Az ($ = 1-9 ยกเว้น 0)
สถานี Clubstation ขั้นต้น E2$Aa - E2$Az ($ = 1-9 ยกเว้น 0)
สถานี Clubstation ขั้นกลางและขั้นสูง HS0Aa - HS0Az และ E20Aa - E20Az
สถานีทวนสัญญาณ HS$RRaa - HS$RRzz
สถานีเชื่อมต่อโครงข่ายสาธารณะ (Internet Voice Gateway) HS$RLaa - HS$RLzz
สถานี Beacon HS$RBaa - HS$RBzz

ดูแรกๆ อาจสับสน หรืองง เนื่องจากเป็นของใหม่ที่ไม่คุ้นเคย แต่การกำหนดสัญญาณเรียกขานอย่างเป็นระบบเช่นนี้มีการใช้งานอยู่ในหลายๆ ประเทศ แม้กระทั้งประเทศที่มีสัญญาณเรียกขาน (Prefix) ให้ใช้มากมาย เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เยอรมัน อังกฤษ เป็นต้น

ข้อดีที่เห็นได้ชัดของระบบนี้คือสามารถแยกแยะได้ชัดเจนว่าใครเป็นใคร เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นระดับไหน สถานีประเภทใด ซึ่งจะสอดคล้องกับการส่งเสริมให้มีการกำกับดูแลกันเองของนักวิทยุสมัครเล่น คนที่ฟังอยู่จะทราบได้ทันทีว่านักวิทยุสมัครเล่นคนนี้มีสิทธิที่จะใช้งานความถี่อะไรได้บ้าง

หลายคนอาจจะคิดว่าจะทำได้อย่างไร ในเมื่อสัญญาณเรียกขานจำนวนมากได้ถูกกำหนดออกไปจนหมดแล้ว จะทำกันอย่างไรให้เป็นระบบแบบนี้

เริ่มจากคนใหม่ที่สอบเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ให้กำหนดสัญญาณเรียกขานในกลุ่มใหม่ได้ทันที เพราะเป็นการกำหนดสัญญาณเรียกขานแบบ 4 ตัวอักษร สำหรับการที่ผู้ที่มีใบอนุญาตเดิมที่ใช้สัญญาณเรียกขาน 2 และ 3 ตัว ไม่ต่ออายุใบอนุญาต สัญญาณเรียกขานจะว่างลง สามารถนำมากำหนด ให้กับพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางและขั้นสูงต่อไปได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้

1. จากพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ไปสู่ขั้นที่สูงกว่า จะต้องกำหนดสัญญาณเรียกขานใหม่ทุกกรณี (จาก 4 ตัวเป็น 3 ตัว)
2. จากพนักงานวิทยุสมััครเล่นขั้นกลาง ไปสู่ขั้นที่สูงกว่า กำหนดให้เป็นทางเลือกว่าจะเปลี่ยนหรือไม่ก็ได้ แต่มีโอกาศจะเลือกใช้สัญญาณเรียกขาน 2 ตัวเพิ่มได้

แน่นอนว่าในวันที่เริ่มใช้ ทุกคนยังคงใช้สัญญาณเรียกขานเดิมอยู่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด และเมื่อเวลาผ่านไประยะยาวจะเข้าสู่ระบบได้เอง ดังเช่นระบบทะเบียนรถยนต์ที่มีการเปลี่ยนระบบมาแล้ว 3 ครั้ง ซึ่งทะเบียนรถเดิมก็วิ่งได้ไปจนกว่าอายุของรถ หรือไม่ต่อใบอนุญาตแล้ว ส่วนรถใหม่ก็จะกำหนดตามหมวดใหม่ นั่นเอง

จากการที่เราเปลี่ยนมาใช้สัญญาณเรียกขาน 4 ตัวนี้จะทำให้เรามีสัญญาณเรียกขานใช้ไปได้อีกนานนับสิบปี

การกำหนดสัญญาณเรียกขานของประเทศออสเตรเลีย
การกำหนดสัญญาณเรียกขานของประเทศอังกฤษ
การกำหนดสัญญาณเรียกขานของประเทศสหรัฐอเมริกา

คำถามและคำตอบ (FAQ)
คำถาม 1
เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ได้รับการกำหนดสัญญาณเรียกขาน 3 ตัว หรือ 2 ตัวอยู่ จะต้องเปลี่ยนมาใช้สัญญาณเรียกขาน 4 ตัวหรือไม่

คำตอบ 1
ไม่ต้องเปลี่ยน ถ้าได้รับการกำหนดสัญญาณเรียกขานไว้ก่อนหน้าแล้ว ให้ใช้สัญญาณเรียกขานนั้นต่อไปได้

คำถาม 2
ถ้าเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นอยู่แล้ว มีสัญญาณเรียกขาน 3 ตัวหรือ 2 ตัว แล้วต้องการเปลี่ยนมาใช้สัญญาณเรียกขาน 4 ตัว ทำได้หรือไม่

คำตอบ 2
สามารถทำได้ หากมีความประสงค์จะเปลี่ยนสัญญาณเรียกขานเป็น 4 ตัว แต่ไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาใช้สัญญาณเรียกขาน 3 ตัว และ 2 ตัวได้อีก ยกเว้นสอบเลื่อนระดับเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางหรือขั้นสูง

คำถาม 3
พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นกำหนดให้ใช้สัญญาณเรียกขาน HS$Naaa - HS$Nzzz ทำไมต้องใช้ตัว N

คำตอบ 3
สำหรับตัว N นั้นมาจากคำว่า Novice หมายถึงขั้นต้น เพื่อเป็นการระบุที่ชัดเจนว่าเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น

คำถาม 4
การใช้สัญญาณเรียกขาน 4 ตัวนั้นจะสามารถกำหนดเป็นสัญญาณเรียกขานได้จำนวนเท่าใด

คำตอบ 4
ประเทศไทยมี 2 Prefix คือ HS และ E2 ใช้ตัวเลขทั้งหมด 10 หลัก คือ 0-9 และตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้ทั้งหมด 26 ตัวอักษร ดังนั้นผสมกันแล้วจะได้ดังนี้

2 x 10 x 26 x 26 x 26 x 26 ซึ่งจะเท่ากับ 9,139,520 สัญญาณเรียกขาน

3 comments:

  1. 2 x 10 x N x 26 x 26 x 26 ซึ่งจะเท่ากับ 351,520 สัญญาณเรียกขาน เพราะ N ไม่เปลี่ยนครับ

    ReplyDelete
    Replies
    1. ถูกต้องครับ สำหรับการใช้งาน 1 หมวดของตัวอักษร "N" ที่เสนอให้ใช้สำหรับพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น หากหมดตัวอักษร "N" ก็ยังสามารถใช้หมวดอักษรอื่นๆ ได้อีกที่เหลือ 24 หมวด หมวด ยกเว้น "R" ซึ่งก็ได้อีกเป็นล้านสัญญาณเรียกขาน

      Delete
  2. This comment has been removed by a blog administrator.

    ReplyDelete