Saturday, August 14, 2010

Bangkok to KL, Malaysia with JT65B and Meteor Scatter (MS)

จากที่ในช่วงนี้เป็นช่วง Peak ของดาวตกจากกลุ่มดาวตกที่ชื่อว่า Perseid ซึ่งมีจำนวนดาวตกมากที่สุดอยู่ในวันที่ 12 สิงหาคม 2553 ก็เลยมีความคิดว่าน่าจะได้ทดสอบการติดต่อสื่อสารสะท้อนหางดาวตกจริงๆ จังๆ สักที ซึ่งก็ได้ทำการควานหาคู่สถานีที่อยู่ไกลๆ เพื่อจะมาทดสอบด้วย จนแล้วจนรอดก็หาไม่ได้สักที บังเอิญว่ามีเพื่อนชาวมาเลเซีย ที่เป็นนักวิทยุสมัครเล่น เกิดมีความสนใจในเรื่องเดียวกัน แล้วก็รอมองหาคนที่จะทดสอบด้วยมานาน แล้วเราทั้งคู่ก็ได้มาเจอกัน นั่นก็คือ 9M2CQC ซึ่งอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ตำแหน่ง Gridของ 9M2CQC คือ OJ03TB และ Grid ของผม (HS2JFW) คือ OK03FR คำนวนระยะทางแล้วได้อยู่ที่ 1193 กิโลเมตร ทางทิศ 175 องศา และจากการใช้โปรแกรมคำนวนเพิ่มเติมเกียวกับการติดต่อ MS นั้นบอกว่าต้องยกสายอากาศขึ้นไปที่ 8 องศา ด้วย เพื่อมุมตกกระทบที่ดี


หลังจากได้พูดคุยตกลงกันแล้วก็นัดวัน และเวลา คือ เช้าของวันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม 2553 เวลา 0430 น. (เวลาประเทศไทย) สำหรับ Mode ที่จะใช้นั้นคือ FSK441 ที่มีอยู่ในโปรแกรม WSJT ของ K1JT ซึ่งในคืนวันศุกร์ ต่อเนื่องวันเสาร์เช้านั้น ที่บ้านมีฝนตกตลอดเวลา ไม่ขาดเม็ด แต่ไม่หนัก ตกแบบพรำๆ ซึ่งการตกแบบนี้ ทำให้เกิดสัญญาณไม่พึงประสงค์ หรือ Noise มากกว่าปกติ ทั้งจากเมฆฝน และฟ้าแล๊บ



ในช่วงเวลาประมาณเทียงคืนกว่าๆ ก็ได้รับการติดต่อมาจาก 9M2CQC ทาง MSN ว่ากำลังเตรียมความพร้อมของสถานีอยู่คาดว่าอีก 30 นาทีจะเรียบร้อย ซึ่งเป็นเวลาก่อนเวลานัดหมายหลายชั่วโมง และเมื่อทางมาเลเซียพร้อมก็ได้ให้สัญญาณมาว่าอยากจะทดสอบเลย (อดใจไม่ไหว) ซึ่งผมเองก็พร้อมอยู่แล้ว จึงได้นัดความถี่ และ Mode เป็น JT65B ก่อนเป็นอันดับแรก เมื่อเริ่มออกอากาศครั้งแรก ทั้งผม และ 9M2CQC ต่างก็ร้องอุทานเสียงหลงแบบเชื่อหูตัวเองว่า เสียงของ JT65B ดังเข้ามาในลำโพงชัดมาก เหมือนอยู่ข้างบ้านอย่างนั่นเลย ไม่น่าเชื่อว่าจะมาดีขนาดนี้ รับได้รับดับ 59 ทางลำโพง ซึ่งก็ไดติดต่อด้วย Mode JT65B สำเร็จได้ในเวลาไม่นาน

หน้าจอการติดต่อ JT65B ระหว่าง HS2JFW และ 9M2CQC จากกรุงเทพ ถึง กัวลาลัมเปอร์


หลังจากติดต่อด้วย JT65B แล้ว ด้วยสัญญาณที่แรงมาก จึงได้สลับไปทดสอบกันใน Mode SSB Voice ผลที่ได้คือสามารถติดต่อกันได้ในระดับที่พอจับใจความได้ ผมรับทางมาเลเซียได้ที่ระดับ 46-47 จากนั้นก็สลับไปที่ Mode CW ซึ่งรับสัญญาณได้ชัดเจนมากระดับ 599 ตลอดการติดต่อ



หลังจากจบ SSB และ CW แล้วก็ไปต่อด้วย Mode ที่ยากกว่านั่นก็คือการสะท้อนหางดาวตก โดยใช้ Mode FSK441 สลับกันรับ-ส่ง ฝ่ายละ 30 วินาที โดย HS2JFW เป็นคนเริ่มก่อน หลังจากส่งไปได้ไม่นาน สิ่งที่ต้องการได้ยินก็เกิดขึ้น คือได้ยินเสียงการสะท้อนของ FSK441 ดังมาแว๊บ ที่ลำโพง และโปรแกรมก็สามารถถอดข้อความออกมาได้ เป็นสัญญารเรียกขานของทั้งคู่ ที่ 9M2CQC ส่งไปสะท้อนหางดาวตก และกระทบมาที่ผม


สัญญาณที่รับได้จากการสะท้อนหางดาวตก ที่ 9M2CQC ส่งมา


รับ Report ได้จากมาเลเซีย "R26" 

ปิดท้ายด้วย "73"




ในการทดลองครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม และนับเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่มีการติดต่อสื่อสารสะท้อนหางดาวตก และประสบความสำเร็จ กับต่างประเทศ ด้วยระยะทางถึง 1193 กิโลเมตร



การติดต่อครั้งนี้ได้มี HS9IFG ร่วมทดสอบอยู่ด้วย ซึ่งใช้สายอากาศเพียง 4 อิลิเม้น เท่านั้น และสามารถรับสัญญาณที่สะท้อนมาจากหางดาวตกได้ 1 ครั้ง ซึ่งเป็นสัญญาณของทาง 9M2CQC

73 Joe
HS2JFW

No comments:

Post a Comment