Monday, March 24, 2014

ขยายความเรื่องความถี่สำหรับการติดต่อสื่อสารประเทภเสียงโดยเชื่อมโยงผ่านโครงข่ายอื่น

ในที่สุดสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นเรื่องประกาศ กสทช ที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุสมัครเล่นโดยตรงได้เปิดเผยสู่งสาธารณะเป็นที่เรียบร้อย หลังจากที่หลายคนได้อ่านแล้วก็มีเสียงตอบรับหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เสียงชม เสียงบ่น ความรู้สึกสมหวัง และผิดหวัง กับสิ่งที่แต่ละคนได้เสนอไป การรับฟังก็คือการรับฟัง และความจริงก็คือว่าผลที่ออกมาคงไม่สามารถทำให้ทุกคนที่เสนอความเห็นไปแล้วจะได้รับการตอบรับตามความเห็นของทุกคนที่เสนอ ซึ่งผู้พิจารณา ก็ได้นำไปสรุปและพิจารณาความเห็นทั้งหมด พร้อมทั้งได้สรุปผลมาแล้วว่าจะทำอย่างไร

มีประเด็นที่อาจต้องทำความเข้าใจเพิ่มสักนิดจากข้อสรุปที่ออกมา คือ ความถี่สำหรับการติดต่อสื่อสารประเภทเสียงโดยเชื่อมโยงผ่านโครงข่ายอื่น ดังสรุป


ก็เป็นที่น่ายินดีกว่า จะได้มีความถี่เป็นการเฉพาะกันเสียทีสำหรับสถานีประเภทนี้หลังจากใช้ปะปนกันการสื่อสารประเภทอื่นๆ มากันตั้งแต่เริ่มต้น ของใหม่ก็ได้มีกำหนดเอาไว้ให้ถึง 7 ช่องความถี่ด้วยกัน เอามาให้ดูกันว่า 7 ช่องดังกล่าวมีอะไรบ้างจากร่างที่กำหนด
ช่วงแรกกำหนดไว้ 5 ช่องความถี่ดังนี้


และช่วงที่ 2 กำหนดไว้อีก 2 ช่องความถี่


ซึ่งดูแล้วก็ไม่น่าจะมีอะไรให้สงสัย หรือต้องเพิ่มรายละเอียดอีก แต่ก็ต้องบอกว่าต้องมีการขยายความเพิ่มอีกสักนิด เพื่อให้การใช้งานไม่เกิดปัญหาตามมาเหมือนที่เคยเกิดขึ้น
มาดูสิ่งที่ได้เสนอไปว่าเป็นอย่างไร


และ


สิ่งที่แตกต่างกันก็คือมีการแยกประเภท หรือชนิดของการติดต่อสื่อสารประเภทนี้ไว้ชัดเจนเป็น 2 ชนิด ได้แก่ Analog และ Digital ด้วยเหตุที่มีการใช้งานของทั้ง 2 รูปแบบนี้ และแนวโน้มเทคโนโลยีกำลังก้าวไปสู่เสียง Digital มากขึ้น ด้วยมีเหตุผลหลายประการ คงไม่กล่าวถึงในที่นี้ หากไม่มีการจำแนกความถี่ไว้ชัดเจน ก็จะเกิดปัญหาการรบกวนกัน ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ หรือใช้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เหตุผลที่แยกออกมาชัดเจน มีดังนี้

1. แถบความถี่เดิม 144-146MHz กำหนดให้ เสียง Analog 4 ความถี่ และเสียง Digital 1 ความถี่ เพื่อรองรับเครื่องวิทยุสื่อสารเดิมที่ไม่สามารถขยายเกินกว่า 146MHz ได้
2. แถบความถี่ใหม่ กำหนดให้เสียง Digital เพิ่มอีก 2 ความถี่ เนื่องจากเป็น Mode ใหม่ สามารถใช้เครื่องมือสื่อสารใหม่ที่สามารถใช้งานความถี่ช่วงใหม่ได้แล้ว

อาจเป็นความหวังดี หรือยังไม่เข้าใจ ของการสรุปผลการรับฟังที่ไม่ชัดเจน หากนำมารวมกันปัญหาใหญ่จะตกอยู่ที่กลุ่ม Analog เพราะระบบไม่สามารถคัดกรองสัญญาณได้ จะได้รับสัญญาณทั้ง Analog และ Digital เข้าไปทั้งหมด ถ้าใช้งานร่วมความถี่เดียวกัน ซึ่งแตกต่างจากระบบ Digital ที่จะไม่รับสัญญาณ Analog เลย ระบบจะเปิดและทำงานเฉพาะสัญญาณ Digital เท่านั้น

หากประกาศกำหนดมาแบบกว้างเช่นนี้ ท้ายที่สุดก็จำเป็นจะต้องมีการจัดการที่ดี ระหว่างระบบที่เป็น Analog และ Digital


หมายเหตุ
- ระบบเสียง Analog ได้แก่ Echolink, e-QSO, WIRES-II เป็นต้น
- ระบบเสียง Digital ได้แก่ P-25, D-STAR, DMR, C4FM (4FSK) เป็นต้น



Tuesday, March 11, 2014

แนวทางการบริหารจัดการ สถานี Internet Gateway ในประเทศไทย

เอกสารเผยแพร่
แนวทางการบริหารจัดการ สถานี Internet Gateway ในประเทศไทย

Download ได้ที่นี่ bit.ly/gatewaymgm

นโยบายการเข้าใช้งาน EchoLink (EchoLink Access Policies)

นโยบายการเข้าใช้งาน EchoLink (EchoLink Access Policies)
            
นโยบายการเข้าใช้งานที่ ทุกสถานีจะต้องยึดปฏิบัติเพื่อจะขออนุญาตสิทธิเข้าใช้งานระบบ EchoLink นโยบายนี้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่าได้ทำทุกอย่างอย่างถูกต้อง และมีการใช้งานอย่างไม่มีปัญหาสำหรับทุกสถานี นโยบายทุกข้อที่กำหนดขึ้นมานั้นเพื่อให้เกิดการใช้งานได้ในวงกว้างและมีความเท่าเทียมกัน

การใช้งาน EchoLink  นั้นไม่คิดค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ แต่โปรดคำนึงไว้ว่าระบบ EchoLink นี้ดำเนินการโดยเอกชน เป็นระบบส่วนตัวของผู้ให้บริการ ผู้ใช้งานของระบบทุกคนอยู่ในฐานะแขกของระบบ (Guest) และได้รับสิทธิให้ใช้งานภายใต้นโยบายนี้

  1. การเข้าใช้งานระบบ จะอนุญาตให้เฉพาะพนักงานวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น (CEPT Class 2 หรือเทียบเท่า) ผู้ใช้งานใหม่ทุกคนจะต้องแสดงหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ตัวตนก่อนที่จะได้รับสิทธิ โดยการใช้เอกสารได้หลายประเภทตามที่ได้กำหนดไว้แล้ว สามารถดูเอกสารเพื่อพิสูนน์ตัวตนได้ที่นี่ http://www.echolink.org/validation_docs.htm
  2. ไม่อนุญาตให้ “SWL” (ฟังอย่างเดียว) เข้าใช้งาน EchoLink ถูกออกแบบมาให้เป็นระบบสื่อสารสองทาง ซึ่งยังไม่มีกระบวนการพิสูจน์ตัวตนที่แน่ชัดได้ของผู้ใช้งานประเภทฟังอย่างเดียว (SWL)
  3. การอนุญาตให้ใช้งานระบบประเภท Sysop (สถานี –L และ –R) จะอนุญาตให้เฉพาะผู้ที่มีสิทธิให้สามารถตั้งสถานีเชื่อมต่อโครงข่ายอินเทอร์เน็ตเท่านั้น อย่างไรก็ตามเป็นความรับผิดชอบของเจ้าของสถานีเองที่จะต้องดำเนินการขออนุญาตเพิ่มเติม (ถ้ามี) จากหน่วยงานกำกับดูแล
  4. สถานีที่ใช้งานประเภท Sysop ต้องเชื่อมต่อระบบ EchoLink เข้ากับอุปกรณ์และความถี่เฉพาะในกิจการวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น EchoLink ไม่อนุญาตให้เชื่อมต่อกับระบบอื่น อาธิเช่น ระบบ GMRS, FRS, MARS (CB 27MHz และ CB 245MHz ในประเทศไทย หรือความถี่นอกเหนือไปจากกิจการวิทยุสมัครเล่น) และเหตุผลทางด้านความปลอดภัย EchoLink ไม่อนุญาตให้เชื่อมต่อกับระบบ VoIP อื่นใดที่สามารถเข้าถึงระบบ EchoLink ผ่านทางคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง
  5. สถานีวิทยุสมัครเล่นที่เข้าใช้งานระบบ ถูกคาดหวังว่าจะปฏิบัติตามหลักการใช้งานที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในกิจการวิทยุสมัครเล่น การอนุญาตจะถูกเพิกถอนหากพบว่ามีการใช้งานที่มีเจตนาร้าย การกระทำที่จงใจที่จะละเมิดข้อตกลงในกิจการวิทยุสมัครเล่นสากล หรือ การปลอมเป็นบุคลลอื่น
  6. เมื่อได้รับการร้องเรียนจากผู้ใช้งานอื่นๆ จำนวนมาก การใช้งานสถานีทวนสัญญาณอย่างไม่สุภาพ การประสงค์ร้ายต่อผู้อื่น การใช้ถ้อยคำหยาบคายต่อผู้อื่นที่ไม่เป็นที่ยอมรับ ถือว่าเป็นเหตุแห่งการเพิกถอนสิทธิ์การเข้าใช้งาน นโยบายนี้มีผลกับการส่งสัญญาณทุกประเภท ทั้งจากสถานีผู้ใช้งานโดยตรง หรือผ่านทางความถี่วิทยุก็ตาม รวมไปถึงคำพูดหยาบคาย หรือคุกคามโดยตรงต่ออาสาสมัครผู้ดูแลระบบ EchoLink ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะไม่ได้รับการยอมรับ
  7. เมื่อได้รับสิทธิการเข้าใช้งานแล้ว จะต้องไม่แบ่งให้ หรือ ให้ยืม รหัสผ่านของตนเองต่อสถานีอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่ไม่มีใบอนุญาต ไม่ได้เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่น อนึ่งผู้ซึ่งพยายามใช้เอกสาร หลักฐาน ปลอมเพื่อที่แสดงตนเข้าใช้งาน หรือเอกสารจริงที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ จะถูกห้ามใช้ระบบอย่างถาวร
  8. ให้ใช้สัญญาณเรียกขานที่อยู่ประจำที่ เพื่อเข้าใช้ระบบ หลีกเลี่ยงการใช้สัญญาณเรียกขาน portable เช่น K1RFD/1 หรือ PY2/K1RFD หรือสัญญาณเรียกขานชั่วคราว สัญญาณเรียกขานพิเศษ ซึ่งสัญญาณเรียกขานเหล่านี้จะไม่ได้รับการอนุญาตให้เข้าใช้งาน
  9. ถ้าคุณมีสัญญาณเรียกขานมากกว่า 1 สัญญาณเรียกขาน ให้ใช้สัญญาณเรียกขานเดียวในการขอสิทธิเข้าใช้งาน ซึ่งในกฏพื้นฐานของระบบจะไม่อนุญาตให้ใช้ได้ และรวมไปถึงสัญญาณเรียกขานของท่านในประเทศอื่นๆ ด้วยเช่นกัน จะไม่ได้รับอนุญาต
  10. สัญญาณเรียกขานของคลับ และสถานีทวนสัญญาณ จะต้องใช้สำหรับการเชื่อมต่อความถี่วิทยุเท่านั้น (RF Link หรือ Sysop mode) ผู้ดูแลระบบ EchoLink จะไม่อนุญาตให้ใช้สัญญาณเรียกขานของคลับ และสถานีทวนสัญญาณ สาหรับการใช้งานแบบผู้ใช้งานทั่วไป (User mode)
  11.  “Addressing Server” หรือ Server ที่ให้บริการถูกออกแบบมาให้เข้าถึงได้เฉพาะโปรแกรม EchoLink เท่านั้น ด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัย การเข้าใช้งานจากโปรแกรมอื่นๆ นั้นต้องได้รับอนุญาตจากผู้ดูแล Server ด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัยอีกเช่นกัน จะต้องไม่แสดงหมายเลข IP ของผู้ที่กำลังใช้งานระบบ ไปให้กับผู้ใช้อื่นนอกจากผู้ใช้งานที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ระบบแล้วเท่านั้น
  12. อย่างไรก็ดีทุกสิ่งที่ได้ทำลงไปนั้นเพื่อให้นโยบายนี้ เกิดการใช้งานได้ในวงกว้างและมีความเท่าเทียมกัน อาสาสมัครผู้ดูแลระบบ EchoLink สงวนสิทธิที่จะเพิกถอนการเข้าใช้งานของสถานีใดๆ ได้ตลอดเวลา โดยที่ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบ ระบบ EchoLink นั้นดำเนินการ บริหารจัดการโดยเอกชน ไม่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ใดๆ และไม่ถูกกำกับดูแล จากหน่วยงานกำกับดูแล ที่ดูแลงานด้านวิทยุสื่อสารแต่อย่างใด
หมายเหตุ

โปรแกรม EchoLink นั้นมีระบบรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติม ซึ่งสามารถทำได้จากผู้ใช้งานสถานีโดยตรง ตัวอย่างเช่น สถานี Link ไม่มีความประสงค์จะเข้าร่วมในห้องคอนเฟอร์เรนท์ใดๆ สามารถกำหนดได้ว่าไม่อนุญาตให้เชื่อมต่อกับห้องคอนเฟอร์เรนท์ การกระทำดังกล่าวลักษณะนี้เป็นการตัดสินใจของเจ้าของสถานี ซึ่งไม่อยู่ในการควบคุมของเจ้าของโปรแกรม หรือ Server ที่ระบบทำงานอยู่แต่อย่างใด