Tuesday, October 22, 2013

ภาคผนวก 4 หลักเกณฑ์และวิธีการเทียบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น

ภาคผนวก 4
หลักเกณฑ์และวิธีการเทียบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น

๑. ผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นของประเทศที่ใช้หลักข้อตกลงต่างตอบแทนเกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่นกับประเทศไทย ซึ่งมีความประสงค์จะเทียบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นของประเทศไทย ต้องมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
๑.๑ สัญชาติไทย
๑.๒ เชื้อชาติไทย
๑.๓ สัญชาติของประเทศที่มีข้อตกลงต่างตอบแทนเกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่นกับประเทศไทย

๒. ผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ ๑ จะต้องแนบเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา ดังนี้
๒.๑ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรแสดงตนที่ทางราชการออกให้ และสำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีมีคุณสมบัติตามข้อ ๑.๑)
๒.๒ สำเนาหนังสือเดินทางระหว่างประเทศ และหลักฐานหรือรายละเอียดของสถานที่พักอาศัยในขณะที่อยู่ประเทศไทย (กรณีมีคุณสมบัติตามข้อ ๑.๒ หรือ ๑.๓)
๒.๓ สำเนาประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น
๒.๔ สำเนาใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น
๒.๕ หนังสือรับรองจากสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

๓. ให้ยื่นหนังสือคำขอเทียบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น ณ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เลขที่ ๘๗ ถนนพหลโยธิน ซอย ๘ (สายลม) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ ด้วยตนเองหรือไปรษณีย์ตอบรับ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามข้อ ๒

๔. เมื่อได้รับหนังสือขอเทียบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น ตามข้อ ๓ แล้ว สำนักงานจะดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติ และความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา หากไม่ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่เพียงพอ สำนักงานจะแจ้งให้แก้ไขเพิ่มเติมจนกว่าเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ ผู้ยื่นคำขอจะต้องจัดส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม ภายในระยะเวลาสามสิบวันทำการ ภายหลังจากที่ได้รับหนังสือแจ้งจากสำนักงาน หากเกินระยะเวลาที่กำหนด สำนักงานจะยกเลิกการพิจารณาคำขอดังกล่าว

๕. คณะกรรมการมอบหมายให้สำนักงานเป็นผู้พิจารณาเทียบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น   และพิจารณาออกใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นตามประกาศหลักเกณฑ์เกี่ยวกับพนักงานวิทยุคมนาคม    ที่กำหนดไว้

ความเห็น

สำหรับภาคผนวกนี้ก็เป็นอันว่าได้ขอสรุปที่ชัดเจนแล้วว่าผู้ที่มีสัญชาติไทย และ เชื้อชาติไทย สามารถนำประกาศนียบัตรจากประเทศที่มีข้อตกลงต่างตอบแทนมาเทียบเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นของไทยได้ หลังจากเรียกร้องต่อสู้กันมาพักใหญ่ สำหรับข้อนี้ต้องเครดิตให้คณะอนุกรรมการฯ โดย HS1ASC ที่ผลักดันจนสามารถทำให้คณะอนุกรรมการฯ เห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของการเทียบใบประกาศนียบัตร

และจากรายละเอียดทั้งหมดของภาคผนวกนี้ก็คิดว่าสมบูรณ์แล้ว แต่จะขอเพิ่มเอกสารประกอบการพิจารณาอีก 1 รายการคือ 

๒.๕ หนังสือรับรองจากสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

ที่ผ่านมาเวลาชาวต่างประเทศมายื่นเทียบนั้นจะต้องใช้หนังสือรับรองจากสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ด้วย ดังนั้นการยื่นเทียบทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างประเทศ สมาคมฯ ควรจะต้องมีข้อมูล เพื่อการกำกับดูแลกันเอง

หนังสือรับรองจากสมาคมฯ รับรองอะไร
เป็นหนังสือรับรองว่าท่านได้รับประกาศนียบัตรหรือใบอนุญาตจากประเทศที่ใช้หลักข้อตกลงต่างตอบแทนเกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่นกับประเทศไทย ซึ่งเป็นการช่วย สำนักงาน ตรวจสอบข้อมูลก่อนนำไปยื่น

ต้องเป็นสมาชิกของสมาคมฯ หรือไม่ เพื่อขอหนังสือรับรอง
สมาคมฯ ต้องไม่บังคับให้เป็นสมาชิก การออกหนังสือรับรองสามารถออกให้กับนักวิทยุสมัครเล่นที่มีความประสงค์จะยื่นขอเทียบประกาศนียบัตรทุกคน ทั้งนี้ผู้ที่ขอหนังสือรับรองสามารถพิจารณาสมัครสมาชิกกับสมาคมฯ ได้ ด้วยความสมัครใจหากเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อสมาคมหรือผู้ขอหนังสือรับรอง

Monday, October 21, 2013

ภาคผนวก 2 วิธีการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น

ภาคผนวก 2 
วิธีการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น

ในภาคผนวกนี้มีสิ่งที่ต้องปรับแก้อยู่หลายจุด ขอยกมาเฉพาะส่วนที่เห็นว่าควรต้องมีการปรับแก้

๔. ผู้เข้ารับการสอบต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
๔.๑ มีสัญชาติไทย หรือมีเชื้อชาติไทย
๔.๒ เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (กรณีการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง)
๔.๓เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (กรณีการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง)

สำนักงาน ควรจะต้องส่งเสริมให้พนักงานวิทยุสมัครเล่น ยกระดับความรู้และความสามารถ ให้เร็วที่สุด ไม่ควรใช้เงื่อนไขเวลามาเป็นเครื่องมือในการขัดขวางการพัฒนาของคน ซึ่งขัดกับหลักการส่งเสริมของ สำนักงาน ประเทศต้องการบุคลากรที่มีความรู้ มีความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย แต่การกำหนดเช่นนี้ทำให้ประเทศสูญเสียโอกาสในการพัฒนาคนไปถึง 3 ปี เห็นสมควรอย่างยิ่งให้ตัดออก เพราะไม่เป็นการส่งเสริม แต่เป็นการบั่นทอนความตั้งใจของผู้ที่จะเข้ามาเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไป

๙.๓ วิธีการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง
ภาคทฤษฎี 
จำนวน ๑๐๐ ๗๕ ข้อ ข้อละ ๑ คะแนน เวลาสอบหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที โดยแบ่งออกเป็น ๔ วิชา ดังนี้

วิชาที่
หัวข้อวิชา
จำนวน (ข้อ)
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุสมัครเล่น
๒๕ ๑๕
การติดต่อสื่อสารของนักวิทยุสมัครเล่น
๒๐
ทฤษฎีต่างๆ สำหรับนักวิทยุสมัครเล่น
๒๐
หลักปฏิบัติของนักวิทยุสมัครเล่น
๒๐
ความรู้เกี่ยวกับรหัสมอร์ส
๑๕

ปรับจำนวนข้อในการทดสอบลงเหลือเพียง 75 ข้อ จากเดิม 100 ข้อ และเพิ่มเวลาสอบเป็นหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที การทำข้อสอบจำนวนมากในเวลาอันสั้น 100 ข้อ ต่อ 1 ชั่วโมง แต่ละข้อจะมีเวลาในการทำเพียง 36 วินาที ซึ่งนับว่าน้อยมาก ควรมีเวลาให้อย่างน้อยข้อละ 1 นาที ในการทำข้อสอบ
และตัดวิชาความรู้เกี่ยวกับรหัสมอร์สออกไป เพราะเป็นการสอบทักษะ ไม่ควรนำมาสอบในภาคทฤษฎี และปรับจำนวนข้อของวิชาที่ 1 ลง จาก 25 ข้อเหลือ 15 ข้อ เนื่องจากในวิชานี้ได้ผ่านมาแล้วในการสอบเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น

ภาคปฏิบัติ 
(๑) สอบรับด้วยหูรหัสมอร์สเป็นภาษาอังกฤษ จำนวนคำที่ใช้ในการทดสอบ ๔๐ กลุ่มคำ กลุ่มคำละ ๐.๕ คะแนน ระยะเวลาในการทดสอบห้านาที จำนวนครั้งสูงสุดที่ผิดได้ ๕ คำ
(๒) สอบรับด้วยหูรหัสมอร์สเป็นตัวเลข จำนวนคำที่ใช้ในการทดสอบ ๑๒ ๑๐ กลุ่มคำ กลุ่มคำละ ๐.๕ คะแนน ระยะเวลาในการทดสอบหนึ่งนาทีครึ่ง จำนวนครั้งสูงสุดที่ผิดได้ ๓ กลุ่มคำ
(๓) ระยะเวลาในการทดสอบต้องไม่น้อยกว่าการส่งกลุ่มคำมาตรฐาน คำว่า “PARIS” ด้วยความเร็ว 8 คำต่อนาที รวมกับกลุ่มคำเตรียมพร้อม “VVV” ระยะเวลาในการทดสอบรหัสมอร์สภาษาอังกฤษไม่น้อยกว่าห้านาทีสามสิบวินาที และรหัสมอร์สตัวเลขไม่น้อยกว่าหนึ่งนาทีสามสิบวินาที

ภาคปฏิบัติ รับรหัสมอร์สนั้น ขอให้ปรับเป็นการให้คะแนนต่อกลุ่มคำ ทั้งตัวหนังสือภาษาอังกฤษ และตัวเลข กลุ่มคำละ 0.5 คะแนน และกำหนดระยะเวลาในการทดสอบต้องไม่น้อยกว่าความเร็วของการส่งกลุ่มคำมาตรฐาน "PARIS" ด้วยความเร็ว 8 คำต่อนาที รวมกับการส่ง "VVV" ตอนต้น และ "AR" ตอนท้ายด้วย ซึ่งจะได้ระยะเวลาประมาณ 5 นาที 30 วินาที สำหรับตัวหนังสือภาษาอังกฤษ และตัวเลข 1 นาที 30 วินาที เป็นเวลาขั้นต่ำ ซึ่งการสอบจริงจะใช้เวลาเกินกว่านี้ เพราะมีการผสมคำที่ต่างออกไป

๙.๔ วิธีการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง
ภาคทฤษฎี จำนวน ๑๐๐ ข้อ ข้อละ ๑ คะแนน เวลาสอบสองชั่วโมง โดยแบ่งออกเป็น ๔ วิชา

เพิ่มเวลาในการสอบให้มากขึ้น

๙.๖ เกณฑ์การสอบ

๙.๖.๑ ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ต้องได้คะแนนภาคทฤษฎี ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ๗๐

๙.๖.๒ ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง
(๑) ต้องได้คะแนนภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ๗๕ และ
(๒) สอบผ่านภาคปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๙.๓

๙.๖.๓ ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง ต้องได้คะแนนภาคทฤษฎี ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕

สำหรับการสอบเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นที่ผ่านมากในอดีตให้คำแนนผ่านที่ 60 คะแนน ซึ่งต่ำเกินไป ถ้าเทียบเกรดในการเรียนทั่วไป ก็จะได้ระดับ C หรือเกรด 2 แต่ถ้าเราต้องการยกระดับผู้ที่จะเข้ามาสู่กิจการวิทยุสมัครเล่นควรเพิ่มขึ้นให้สูงกว่าระดับเดิม จึงขอเสนอให้กำหนดไว้ที่ร้อยละ 70 ซึ่งจะทำให้ผู้ที่มีความตั้งใจจะเข้ามาเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นต้องอ่านหนังสือ ทำความเข้าใจ และศึกษาอย่างจริงจังเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ผู้ที่เข้ามาในกิจการวิทยุสมัครเล่นมีความรู้มีความเข้าใจมากกว่าเดิม ถึงจะสามารถสอบผ่านตามเกณฑ์ได้

การสอบเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง เดิมต้องผ่านการสอบทั้ง 3 ภาค ได้แก่ ภาคทฤษฏี ภาครับรหัสมอร์ส ภาคส่งรหัสมอร์ส ด้วย ITU เองยกเลิกข้อบังคับเรื่องการสอบรหัสมอร์สสำหรับผู้ที่จะใช้งานความถี่ต่ำกว่า 30 MHz ไปหลายปีแล้ว ซึ่งเกือบทุกประเทศได้ยกเลิกการสอบไปแล้ว เหลือประเทศไทยที่ยังคงไว้ซึ่งการสอบรหัสมอร์สอยู่

ได้มีการระดมความคิดเห็น และลงความเห็นจากทั้งสองฝั่งผู้ที่ต้องการให้ยกเลิก และผู้ที่ต้องการให้คงไว้ ของประเทศไทยแล้ว ได้ข้อสรุปเป็นแนวทางกลางๆ คือให้มีการสอบรหัสมอร์สไว้ โดยเปลี่ยนเกณฑ์การสอบผ่านใหม่ดังที่ได้นำเสนอไปเมื่อครั้งรับฟังความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ

ซึ่งขอยืนยันแนวทางเดิม โดยให้คิดคะแนนรวม 2 ภาค เป็นเกณฑ์การสอบผ่าน โดยคะแนนรวม 100 คะแนน ภาคทฤษฎีคิดเป็น 75 คะแนน และภาคปฏิบัติรับรหัสมอร์ส คิดเป็น 25 คะแนน และต้องทำได้ 75 คะแนน จึงจะผ่านการสอบเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางได้

Friday, October 18, 2013

แนวทางการกำหนดสัญญาณเรียกขาน

ตามที่ร่างประกาศได้กำหนดไว้ว่าพนักงานวิทยุสมัครเล่นที่ใบอนุญาตขาดต่ออายุเกิน 2 ปีไปแล้วนั้น สัญญาณเรียกขานที่ถูกกำหนดให้ไว้จะถูดนำกลับไปกำหนดให้พนักงานวิทยุสมัครเล่นคนอื่นได้นั้น สาเหตุเกิดจากมีผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจำนวนมากที่ไม่ต่อใบอนุญาตหลังจากใบอนุญาตหมดอายุลง ทำให้สัญญาณเรียกขานของประเทศไทยที่มีเพียง 2 หมวด คือ HS และ E2 ใกล้จะหมดลงในไม่นานนี้ และการที่จะไปขอสัญญาณเรียกขาน (Prefix) ใหม่จาก ITU นั้นก็ไม่ง่ายเหมือนแต่ก่อน เพราะ ITU เองก็พบปัญหาเช่นเดียวกันคือไม่มี Prefix ที่จะกำหนดให้

ดังนั้นมีวิธีการเดียวที่จะทำได้คือการบริหารจัดการการกำหนดสัญญาณเรียกขานอย่างมีประสิทธิภาพ และสิ่งหนึ่งที่ควรต้องทำ และทุกๆ ประเทศก็ดำเนินการเช่นเดียวกันคือนำสัญญาณเรียกขานกลับมาใช้ใหม่ เมื่อไม่มีความประสงค์จะใช้งานต่อไปแล้วจากผู้ที่ได้รับอนุญาต โดยดูจากการที่ไ่ม่ต่อใบอนุญาตภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งนานพอสมควร

และด้วยที่ ITU เองก็ไม่มี Prefix ที่จะกำหนดให้กับประเทศที่ขอไปช่วงหลังๆ ดังนั้นจึงมีการปรับแก้ข้อกำหนดวิทยุที่เรียกว่า Radio Regulations ในหมวดที่ว่าด้วยสัญญาณเรียกขาน (Call sign) ไว้ใหม่ดังนี้

ARTICLE 19
Identification of Stations

19.67 Amateur and experimental stations

19.68 1)

– one character (provided that it is the letter B, F, G, I, K, M, N, R or W) and a single digit (other than 0 or 1), followed by a group of not more than four characters, the last of which shall be a letter, or
– two characters and a single digit (other than 0 or 1), followed by a group of not more than four characters, the last of which shall be a letter. (WRC-03)

19.68A 1A) On special occasions, for temporary use, administrations may authorize use of call signs with more than the four characters referred to in No. 19.68. (WRC-03
19.69 2) However, the prohibition of the use of the digits 0 and 1 does not apply to amateur stations.


19.67 กิจการสมัครเล่นและสถานีทดสอบทดลอง
19.68 1)
- ตัวหนังสือหนึ่งตัว (ได้แก่ B, F, G, I, K, M, N, R หรือ W) และตัวเลขหนึ่งตัว (ที่ไม่ใช่ 0 หรือ 1) ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรไม่เกินสี่ตัว ซึ่งตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวหนังสือ หรือ
- ตัวหนังสือสองตัว และตัวเลขหนึ่งตัว (ที่ไม่ใช่ 0 หรือ 1) ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรไม่เกินสี่ตัว ซึ่งตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวหนังสือ
19.68A 1A) ในบางกรณีพิเศษ การใช้งานชั่วคราว หน่วยงานกำกับดูแลอาจกำหนดให้มีตัวอักษรมากกว่าสี่ตัวได้
19.62 2) อย่างไรก็ตาม ข้อห้ามสำหรับการใช้ตัวเลข 0 และ 1 นั้นไม่นำมาใช้กับสถานีวิทยุสมัครเล่น

สรุปได้ว่าสัญญาณเรียกขานสามารถกำหนดให้มีตัวหนังสือ Suffix ได้ไม่เกิน 4 ตัว ซึ่งจากเดิมกำหนดให้ไม่เกิน 3 ตัว และสามารถใช้งานเลข 0 และ 1 ได้สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่น

สำหรับประเทศไทยนั้นสามารถกำหนดให้สัญญาณเรียกขานได้ดังนี้ HS$aaaa - HS$zzzz และ E2$aaaa - E2$zzzz ($ หมายถึงเลข 0 - 9)

ดังนั้นเพื่อการบริหารจัดการที่ดี จึงเห็นควรเสนอแนวคิดการกำหนดสัญญาณเรียกขานสำหรับประเทศไทยใหม่ดังนี้

ประเทภสถานีวิทยุสมัครเล่น สัญญาณเรียกขาน
สถานีวิทยุสมัครเล่นประเภทบุคคล
พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น HS$Naaa - HS$Nzzz และ E2$Naaa - E20Nzzz
พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง HS$aaa - HS$zzz และ E2$aaa - E2$zzz (ยกเว้น HS0Zaa - HS0Zzz)
พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง HS$Ba - HS$zz และ E2$Ba - E2$zz
พนักงานวิทยุสมัครเล่นภายใต้ Reciprocal Agreement HS0Zaa - HS0Zzz และ HS/homecall
พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง HS$Ba - HS$zz และ E2$Ba - E2$zz
สถานีวิทยุสมัครเล่นประเภทพิเศษ
สถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่าย HS$Aa - HS$Az ($ = 1-9 ยกเว้น 0)
สถานี Clubstation ขั้นต้น E2$Aa - E2$Az ($ = 1-9 ยกเว้น 0)
สถานี Clubstation ขั้นกลางและขั้นสูง HS0Aa - HS0Az และ E20Aa - E20Az
สถานีทวนสัญญาณ HS$RRaa - HS$RRzz
สถานีเชื่อมต่อโครงข่ายสาธารณะ (Internet Voice Gateway) HS$RLaa - HS$RLzz
สถานี Beacon HS$RBaa - HS$RBzz

ดูแรกๆ อาจสับสน หรืองง เนื่องจากเป็นของใหม่ที่ไม่คุ้นเคย แต่การกำหนดสัญญาณเรียกขานอย่างเป็นระบบเช่นนี้มีการใช้งานอยู่ในหลายๆ ประเทศ แม้กระทั้งประเทศที่มีสัญญาณเรียกขาน (Prefix) ให้ใช้มากมาย เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เยอรมัน อังกฤษ เป็นต้น

ข้อดีที่เห็นได้ชัดของระบบนี้คือสามารถแยกแยะได้ชัดเจนว่าใครเป็นใคร เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นระดับไหน สถานีประเภทใด ซึ่งจะสอดคล้องกับการส่งเสริมให้มีการกำกับดูแลกันเองของนักวิทยุสมัครเล่น คนที่ฟังอยู่จะทราบได้ทันทีว่านักวิทยุสมัครเล่นคนนี้มีสิทธิที่จะใช้งานความถี่อะไรได้บ้าง

หลายคนอาจจะคิดว่าจะทำได้อย่างไร ในเมื่อสัญญาณเรียกขานจำนวนมากได้ถูกกำหนดออกไปจนหมดแล้ว จะทำกันอย่างไรให้เป็นระบบแบบนี้

เริ่มจากคนใหม่ที่สอบเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ให้กำหนดสัญญาณเรียกขานในกลุ่มใหม่ได้ทันที เพราะเป็นการกำหนดสัญญาณเรียกขานแบบ 4 ตัวอักษร สำหรับการที่ผู้ที่มีใบอนุญาตเดิมที่ใช้สัญญาณเรียกขาน 2 และ 3 ตัว ไม่ต่ออายุใบอนุญาต สัญญาณเรียกขานจะว่างลง สามารถนำมากำหนด ให้กับพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางและขั้นสูงต่อไปได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้

1. จากพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ไปสู่ขั้นที่สูงกว่า จะต้องกำหนดสัญญาณเรียกขานใหม่ทุกกรณี (จาก 4 ตัวเป็น 3 ตัว)
2. จากพนักงานวิทยุสมััครเล่นขั้นกลาง ไปสู่ขั้นที่สูงกว่า กำหนดให้เป็นทางเลือกว่าจะเปลี่ยนหรือไม่ก็ได้ แต่มีโอกาศจะเลือกใช้สัญญาณเรียกขาน 2 ตัวเพิ่มได้

แน่นอนว่าในวันที่เริ่มใช้ ทุกคนยังคงใช้สัญญาณเรียกขานเดิมอยู่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด และเมื่อเวลาผ่านไประยะยาวจะเข้าสู่ระบบได้เอง ดังเช่นระบบทะเบียนรถยนต์ที่มีการเปลี่ยนระบบมาแล้ว 3 ครั้ง ซึ่งทะเบียนรถเดิมก็วิ่งได้ไปจนกว่าอายุของรถ หรือไม่ต่อใบอนุญาตแล้ว ส่วนรถใหม่ก็จะกำหนดตามหมวดใหม่ นั่นเอง

จากการที่เราเปลี่ยนมาใช้สัญญาณเรียกขาน 4 ตัวนี้จะทำให้เรามีสัญญาณเรียกขานใช้ไปได้อีกนานนับสิบปี

การกำหนดสัญญาณเรียกขานของประเทศออสเตรเลีย
การกำหนดสัญญาณเรียกขานของประเทศอังกฤษ
การกำหนดสัญญาณเรียกขานของประเทศสหรัฐอเมริกา

คำถามและคำตอบ (FAQ)
คำถาม 1
เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ได้รับการกำหนดสัญญาณเรียกขาน 3 ตัว หรือ 2 ตัวอยู่ จะต้องเปลี่ยนมาใช้สัญญาณเรียกขาน 4 ตัวหรือไม่

คำตอบ 1
ไม่ต้องเปลี่ยน ถ้าได้รับการกำหนดสัญญาณเรียกขานไว้ก่อนหน้าแล้ว ให้ใช้สัญญาณเรียกขานนั้นต่อไปได้

คำถาม 2
ถ้าเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นอยู่แล้ว มีสัญญาณเรียกขาน 3 ตัวหรือ 2 ตัว แล้วต้องการเปลี่ยนมาใช้สัญญาณเรียกขาน 4 ตัว ทำได้หรือไม่

คำตอบ 2
สามารถทำได้ หากมีความประสงค์จะเปลี่ยนสัญญาณเรียกขานเป็น 4 ตัว แต่ไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาใช้สัญญาณเรียกขาน 3 ตัว และ 2 ตัวได้อีก ยกเว้นสอบเลื่อนระดับเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางหรือขั้นสูง

คำถาม 3
พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นกำหนดให้ใช้สัญญาณเรียกขาน HS$Naaa - HS$Nzzz ทำไมต้องใช้ตัว N

คำตอบ 3
สำหรับตัว N นั้นมาจากคำว่า Novice หมายถึงขั้นต้น เพื่อเป็นการระบุที่ชัดเจนว่าเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น

คำถาม 4
การใช้สัญญาณเรียกขาน 4 ตัวนั้นจะสามารถกำหนดเป็นสัญญาณเรียกขานได้จำนวนเท่าใด

คำตอบ 4
ประเทศไทยมี 2 Prefix คือ HS และ E2 ใช้ตัวเลขทั้งหมด 10 หลัก คือ 0-9 และตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้ทั้งหมด 26 ตัวอักษร ดังนั้นผสมกันแล้วจะได้ดังนี้

2 x 10 x 26 x 26 x 26 x 26 ซึ่งจะเท่ากับ 9,139,520 สัญญาณเรียกขาน