ข้อเท็จจริงของความถี่ 435-438 MHz
1. สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้กำหนดให้ความถี่ 430-440 MHz ให้กับกิจการวิทยุสมัครเล่น เป็นกิจการรอง ในประเทศที่อยู่ในภูมิภาคที่ 3 และประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคที่ 3(Amateur ใช้ตัวพิมพ์เล็กหมายถึงเป็นกิจการรอง)
ที่มา http://life.itu.int/radioclub/rr/uhfband.htm
(กิจการวิทยุสมัครเล่นไม่ขีดเส้นใต้หมายถึงกิจการรองในตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ)
ที่มา: ราชกิจานุเบกษา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/220/52.PDF
3. ความหมายของกิจการหลัก และกิจการรองตาม ตามคำจำกัดความในตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ
"สถานีในกิจการรองต้องไม่ก่อให้เกิดการรบกวนอย่างรุนแรงต่อสถานีในกิจการหลัก และไม่สามารถร้องขอการคุ้มครองการรบกวนจากสถานีในกิจการหลัก"
4. ความหมายของการรบกวนอย่างรุนแรง
การรบกวนอย่างรุนแรง หมายถึง การรบกวนที่เป็นอันตรายต่อการทำงานของกิจการวิทยุนำทาง
หรือ กิจการเพื่อความปลอดภัย หรือ การรบกวนที่ทำให้เกิดผลเสียอย่างร้ายแรง หรือขัดขวาง หรือ
ขัดจังหวะเป็นช่วงๆ ต่อการดำเนินกิจการต่างๆ ตามข้อบังคับวิทยุ
5. ความถี่ 435-438 MHz อยู่ในช่วงความถี่เดียวกับ 430-440 MHz และเป็นช่วงความถี่สำหรับการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น ในฝั่งขาขึ้น (Uplink) เป็นส่วนมาก เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนจากภาคพื้นดินต่ำกว่าย่านความถี่ VHF
6. หากนักวิทยุสมัครเล่น ได้รับอนุญาตให้ใช้งานภาคส่ง 435-438 MHz สำหรับการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียม นั่นหมายความเรานักวิทยุสมัครเล่นจะใช้งานความถี่ร่วมกันกิจการอื่น และนักวิทยุสมัครเล่นต้องระมัดระวังการใช้งานเป็นอย่างมาก ที่จะไม่ทำให้เกิดการรบกวนกับสถานีที่ใช้งานร่วมกันอยู่และเป็นกิจการหลัก
7. หากเกิดการรบกวนจากการใช้งานของนักวิทยุสมัครเล่น และ กสทช. ได้รับแจ้งการรบกวนนั้น และแจ้งต่อมายังนักวิทยุสมัครเล่นที่ทำให้เกิดการรบกวน นักวิทยุสมัครเล่นจะต้องหยุดการใช้งานในทันที โดยหากประสงค์จะใช้งานอีก จะต้องหาวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนไปยังสถานีในกิจการหลักอีก
"เมื่อเรารักษาสิทธิอันพึงมีของนักวิทยุสมัครเล่น เราจึงต้องรู้จักหน้าที่ของตนเอง และเคารพในสิทธิของคนอื่นเช่นกัน"
No comments:
Post a Comment