Tuesday, September 29, 2020

RFzero - เริ่มต้นใช้งาน

บอร์ด RFzero เป็นการรวมกันของ Arduino + RF + GPS ซึ่งทำงานด้วยการโปรแกรมผ่าน Arduino ดังนั้นใครที่สามารถเขียน Arduino ผ่าน Arduino IDE ได้ ก็สามารถโปรแกรมบอร์ด RFzero ได้ไม่ยาก แต่สำหรับมือใหม่ ทางผู้พัฒนาได้เตรียมชุดโปรแกรมที่ชื่อว่า RFzero Manager ไว้ให้ สำหรับการทำงานร่วมกับบอร์ด RFzreo นี้โดยเฉพาะ ซึ่งใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก เหมาะสำหรับมือใหม่

หน้าจอ RFzero Manager


ได้บอร์ด RFzeo มาอยู่ในมือแล้วต้องทำอย่างไรต่อ?

อย่างที่เกรินไว้แล้วว่า RFzero นั้นทำงานด้วยโปรแกรม ก่อนการใช้งานจึงต้องทำการตั้งค่าโปรแกรมให้ครบถ้วนก่อนการใช้งาน การโปรแกรมก็ทำผ่าน RFzero Manager ผ่าน Port USB

เริ่มต้นขั้นตอนแรกต้อง Download RFzero Manager มาติดตั้งก่อน จาก link นี้

https://www.rfzero.net/documentation/rfzero-manager/

ซึ่งในชุด RFzero Manager นี้จะเตรียม Driver สำหรับติดตั้งมาพร้อมกันด้วย เมื่อติดตั้งแล้วจะมี COM Port เพิ่มขึ้นมามีชื่อว่า "Arduino Zero (COM#)" ดังรูปตัวอย่างจะเป็น COM4 ซึ่งเป็น COM Port ที่เราจะใข้ติดต่อกับบอร์ด RFzero เพื่อตั้่งค่าต่างๆ

หากมีปัญหาการติดตั้ง Driver สามารถดูวิธีการอย่างละเอียดได้ที่ https://www.rfzero.net/documentation/software/driver-installation/

จากนั้นเสียบสาย USB หัว Type-B เข้าที่ฝั่งบอร์ด RFzero ส่วนอีกด้านก็ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ แล้วเปิด RFzero Manager ขึ้นมา ในช่อง Connection ให้เลือกไปที่ COM Port ของ RFzero แล้วกด Connect ที่หน้าจอด้านซ้ายจะมีข้อความขึ้นมา

RFzero>

ถ้าไม่มีข้อความให้ลองกด Enter ดู 2-3 ครั้งจนกว่าจะมีข้อความขึ้น หรือหากไม่มีข้อความขึ้นให้ดึงสาย USB ออกแล้วเสียบเข้าไปใหม่ เป็นการ Reset

หมายเหตุ: RFzero ใช้ไฟ 5V จาก USB Port สำหรับการทำงาน และสามารถใช้ไฟจากภายนอกได้ผ่าน Jumper JP1 ได้ด้วยเช่นกัน


เมื่อได้ Prompt RFzero> แล้วก็พร้อมที่จะตั้งค่าต่างๆ ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะการตั้่งค่าโปรแกรม WSPR Transmitter เท่่านัน


การตั้งค่าที่จำเป็นสำหรับโปรแกรม WSPR Transmitter

การเข้าสู่ Mode Config ให้พิมพ์คำสั่ง config แล้ว Prompt จะเปลี่ยนเป็น RFzero config> จากนั้นก็เริ่มตั้งค่าได้


1. กำหนด Call sign ใช้คำสั่ง

wr bcn CALL

CALL คือ Call sign ตัวอย่าง wr bcn HS2JFW


2. กำหนด Grid locator โดยปกติ Grid locator จะคำนวนจากค่า Lat/Long ที่ได้รับจาก GPS แต่เราควรใส่ Manual ไว้ด้วย ใช้คำสั่ง

wr loc LOCATOR

LOCATOR คือ Grid locator ของที่ตั้งสถานี ตัวอย่าง wr loc OK04HA


3. ตั้งค่าความถี่ที่จะส่ง ด้วยคำสั่ง

wr data INDEX FREQ CONTROL POWER

INDEX คือ ลำดับในตารางความถี่มีได้ 14 ค่า คือ 0 - 14

FREQ คือ ความถี่ที่จะใส่ลงในตาราง หน่วยเป็น Hz

CONTROL คือเลขฐาน 16 ที่ใช้ควบคุม Digital Output D6 - D0

POWER คือ กำลังส่งเป็น dBm (13 dBm สำหรับ RFzero เปล่า ไม่ได้มีตัวขยายกำลังส่งภายนอก)

ตัวอย่าง

    wr data 14 144490500 01 13

    ตั้งค่าความถี่ 144.490500 MHz ในตารางลำดับที่ 14 มี Control bit และกำลังส่งเป็น 01 และ 13dBm


4. ตังค่า Grid locator จาก GPS แบบอัตโนมัติ ด้วยคำสั่ง

 wr locauto ONOFF

ONOFF คือ 0 : ปิดการใช้งาน

                    1 : เปิดการใช้งานคำนวน Grid locator อัตโนมัติ


5. กำหนดลำดับการส่งในแต่ละคาบเวลาที่จะส่ง (sequence) RFzero ประกอบด้วย 2 ลำดับการส่ง (sequence 0 และ 1) ซึ่งเราจะต้องกำหนดลำดับนี้ขึ้นมาก่อน ซึ่งในแต่ละ sequence จะประกอบไปด้วยคาบเวลา (time slot) ทั้งหมด 15 time slot แต่ละ slot จะมีความยาว 2 นาที (WSPR ส่ง 2 นาทีในแต่ละรอบ) ดูภาพด้านล่างประกอบความเข้าใจ

คำสั่งที่ใช้กำหนดลำดับ sequence ของความถี่ในแต่ละคาบเวลา (time slot) คือ

wr seq NUMBER INDEX0 ... INDEX14

NUMBER คือ 0 : ใช้ลำดับความถี่แรก (sequence 0)

                        1 : ใช้ลำดับความถี่สอง (sequence 1)

INDEX0 .. INDEX14 คือ ลำดับของความถี่จากตารางความถี่ทั้ง 14




ตัวอย่าง

    wr seq 0 2 3 s 4 5 s 6 7 s 8 9 s 10 11 s

จากตัวอย่างนี้เป็นการสร้าง sequence 0 ดังนี้





s หมายถึงการไม่ส่งใน time slot นั้น (Skip)

ถ้าต้อการส่งความถี่เดียว ด้วย INDEX เดียว สามารถทำได้ เช่น

wr seq 0 7 7 7 7 7 7 7 7 7 7 7 7 7 7 7


รายละเอียดเพิ่มเติม และการตั้งค่าอื่นๆ สามารถดูได้ที่ https://www.rfzero.net/examples/wspr-transmitter/





No comments:

Post a Comment