1. ขอใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นฉบับใหม่ โดยได้รับสัญญาณเรียกขานใหม่
วิธีนี้เหมาะสำหรับคนมีเครื่อง และยังคงต้องการเก็บไว้ อีกทั้งยังรักในกิจการวิทยุสมัครเล่นอยู่ ก็เพียงแต่ไปขอใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นฉบับใหม่ จ่ายเงิน 214 บาท มีอายุ 5 ปี และก็เสียค่าปรับ 200 บาทต่อเครื่องแล้วก็สามารถ มีและใช้ ไปได้ตลอดอายุของใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น ซึ่งน่าจะเป็นวิธีที่ดี และประหยัดเงินที่สุดแล้ว เพราะทำครั้งเดียวแล้วจบ อยู่ยาว ๆ ไป 5 ปี ก็ต่อใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นเพียงแค่ 214 บาทเท่านั้น ไปเรื่อย ๆ
ใครเลือกใช้วิธีนี้ก็ควรจะต้องรีบหน่อย เพราะสัญญาณเรียกขานปัจจุบันถึง E25Sxx ใกล้จะหมด E25 แล้วก็จะขึ้น E26 เมื่อหมด E26 แล้วก็จะมี E28 เหลือคงค้างอยู่บ้างนิดหน่อย พอหมดจากนี้แล้วก็คือหมด จากการคำนวนก็เหลือประมาณไม่เกิน 3 หมื่น Call sign ที่สามารถใช้ได้ หลังจากนี้ก็เป็นหน้าที่ของ กสทช. ที่จะต้องเร่งจัดการกำหนดสัญญาณเรียกขานให้เพียงพอ ลองนึกภาพว่า หากใน 180 วันนี้มีคนแห่กันไปขอใบอนุญาตพนังงานวิทยุสมัครเล่นกันเป็นแสนจะเกิดอะไรขึ้น
2. ขอใบอนุญาตให้ มี เครื่องวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครอง
ซึ่งไม่สามารถใช้ได้ หากนำมาใช้ ก็จะมีความผิดตามกฏหมายอีก ซึ่งการขอใบอนุญาต มี เครื่องวิทยุคมนาคม จะมีอายุ 1 ปีเท่านั้น จะต้องขอใหม่ทุกครั้งที่หมดอายุ ขอต่อไปเรื่อยๆ หากจะเก็บเครื่องไว้ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ มี ราคา 214 บาท ต่อเครื่อง มีกี่เครื่องก็คูณไป เป็นราคาที่ต้องจ่ายใน 1 ปี แล้วยังต้องจ่ายค่าปรับอีกเครื่องละ 200 บาท ในครั้งแรกที่ไปขอใบอนุญาตให้ มี ตามประกาศลดค่าปรับนี้ ถ้าลืม หรือไม่ต่อใบอนุญาตให้ มี ก็จะมีความผิดตามกฏหมาย และถึงเวลานั้น ประกาศลดค่าปรับก็หมดอายุลง และก็ไม่รู้ว่าจะมีประกาศลดค่าปรับอีกครั้งหรือไม่
3. จำหน่าย จ่าย แจก ไปยังผู้ที่ใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นอยู่
วิธีนี้ก็ง่าย จ่ายค่าปรับเครื่อละ 200 บาท แล้วส่งต่อให้กับคนอื่นได้เลย จะส่งต่อด้วยวิธีไหนก็เลือกตามสะดวก ถ้าจะ ขาย ก็ต้องระมัดระวังกันหน่อย เพราะอาจจะมีความผิดตามกฏหมายอื่นตามมาหรือไม่ เช่น ในขณะที่เรามีเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วนำออกมาจำหน่าย (ค้า) มันจะมีความผิดตามกฏหมายอื่นอีกหรือเปล่า?
วิธีการนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ประสงค์จะใช้เครื่องดังกล่าวแล้ว อนาคตไปขอใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นใหม่ ได้สัญญาณเรียกขานใหม่ ก็ซื้อเครื่องใหม่มาใช้งาน
ถ้าจะขายในช่วงนี้ในระยะเวลาตามประกาศ 180 วัน ก็อาจจะพบกับผู้คนจำนวนมากที่เร่งเอาเครื่องวิทยุออกมาประกาศขายกันเต็มไปหมด ตัดสินใจก่อนก็อาจจะขายได้ก่อน ตัดสินใจที่หลังคนขายเต็มไปหมด คนซื้อก็มีตัวเลือกเยอะเป็นไปตามกลไกตลาด
4. ไม่ต้องทำอะไรเลย อยู่เฉยๆ
จนครบระยะเวลาการลดค่าปรับ 180 วัน วันสุดท้ายคือวันที่ 28 เมษายน 2566 ซึ่งถ้าไปทำธุรกรรมต่างๆ เกี่ยวกับเครื่องวิทยุหลังจากนี้ก็โดนค่าปรับเต็ม ตามความผิด
ขอยกตัวอย่าง ผู้ซึ่งถูกเพิกถอนสัญญาณเรียกขานไปแล้ว มีเครื่องอยู่ 2 เครื่อง คือเครื่องวิทยุมือถือและเครื่องติดตั้งในรถยนต์ เทียบทางเลือกที่ 1 และ 2 ว่าจะมีค่าใช้จ่ายอย่างไร
เลือกวิธีที่ 1 ทำใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น ขอสัญญาณเรียกขานใหม่
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น 214 บาท
2. ค่าปรับกรณีมีเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต จำนวน 2 เครื่อง 200x2 = 400 บาท
3. ใบอนุญาตให้ มี/ใช้ ฉบับใหม่ของเครื่อง จำนวน 2 เครื่อง 535x2 = 1070 บาท
4. ใบอนุญาต ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม สำหรับเครื่องติดตั้งในรถยนต์ 1070 บาท
รวมจ่าย 2754 บาท ในปีแรก และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มในระยะเวลา 5 ปีจากนี้
เลือกวิธีที่ 2 ขอใบอนุญาตให้มี ไปเรื่อยๆ
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าใบอนุญาตให้ มี เครื่องวิทยุคมนาคม จำนวน 2 เครื่อง 214x2 = 428 บาท
2. ค่าปรับกรณีมีเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต จำนวน 2 เครื่อง 200x2 = 400 บาท
รวมค่าใช้จ่ายปีแรก 828 บาท และปีต่อไป 400 บาท
ถ้าเทียบระยะเวลา 5 ปีเท่ากับเลือกวิธีที่ 1 จะมีค่าใช้จ่าย 828+400+400+400+400 = 2428 บาท
และยังคงต้องจ่าย 400 บาทไปเรื่อยๆ
หมายเหตุ : บทความเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเท่านั้น อาจมีความคลาดเคลื่อน ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ และไม่อนุญาตให้นำไปอ้างอิงใด ๆ ให้สอบถามกับผู้เกี่ยวข้องโดยตรงเรื่องการปฏิบัติและค่าใช้จ่าย
อ้างอิง
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตวิทยุคมนาคม - https://www.nbtc.go.th/NBTC/media/apps.nbtclaw/251018_132644.PDF