บทความนี้จะไม่ได้มาว่ากันที่ Mode FT8 แต่จะมาแนะนำ Mode ที่มีมาก่อน FT8 แล้วก็เป็น Weak Signal Mode อยู่ในกลุ่ม Software ตัวเดียวกันที่นักวิทยุสมัครเล่นชาวอเมริกันชื่อ Joe Tayloy สัญญาณเรียกขาน K1JT (JT ก็มาจากชื่อเขานี่แหละ) ซึ่ง K1JT สนใจการติดต่อสื่อสารสัญญาณอ่อนมากๆ และได้สร้าง Mode JT65 ขึ้นมาสำหรับติดต่อสื่อสาร EME และก็มีการนำมาใช้งานในความถี่ HF ในเวลาต่อมา ซึ่งนอกจาก JT65 แล้วยังมี Mode อื่นๆ ที่มาพร้อมกันใน Software WSJT (Weak Signal Communication, by K1JT) ได้แก่
- FSK441 สำหรับติดต่อสะท้อนหางดาวตก
- FT4 FT8
- JT4 JT9
- QRA64
- ISCAT
- Echo (EME Echo)
และ WSPR
WSPR (Weak Signal Propagation Reporter) อ่านว่า วิสเปอร์ (Whisper) ที่แปละว่ากระซิบ ซึ่ง Mode นี้ก็กระซิบสมชื่อจริงๆ เพราะว่าหูเราฟังไม่ได้ยิน แต่โปรแกรมสามารถตรวจจับและรับสัญญาณได้
WSPR ถูกออกแบบมาให้ใช้กำลังส่งต่ำๆ ส่งสัญญาณออกไปให้สถานีปลายทางรับ การส่งจะส่งเป็นเวลา 2 นาทีต่อรอบการส่ง ซึ่งถ้าใช้เครื่องวิทยุเปิดความถี่ WSPR ใน Mode USB ฟังเสียงที่ส่งออกไปจะเป็นเสียงแหลมยาวๆ ตลอด 2 นาที หรือถ้าฟังด้วย Mode FM ก็จะเป็นเหมือน key เปล่า ถ้าไม่รู้ก็พาลคิดว่ามีคนมากดคีย์บี้เล่น แต่ไม่ใช่นะ..อันนี้ต้องบอกไว้ก่อน
เมื่อสัญญาณส่งออกไป ซึ่งจะมีข้อมูลของผู้ส่งถูกส่งออกไปด้วย
ข้อมูลที่ถูกส่งออกไปประกอบไปด้วย
- สัญญาณเรียกขานผู้ส่ง (Call sign)
- ตำแหน่งผู้ส่งเป็น Grid locator
- กำลังส่ง เป็น (dBm)
สถานีรับก็รับสัญญาณ แล้วก็จะถอดข้อมูลออกมา หน้าตาจะเป็นแบบนี้
ตัวเลขแรกจะเป็น เวลา (UTC) ที่รับสัญญาณ
ตัวเลขที่ 2 (dB) คือความแรงของสัญญาณที่รับได้ เป็น dB
ตัวเลขที่ 3 (DT) คือเวลาที่คลาดเคลื่อนระหว่างสถานีรับสถานีส่ง (DT, Delta Time) ซึ่งถ้าเวลาคลาดเคลื่อนไปมาจะไม่สามารถถอดข้อมูลได้
ตัวเลขที่ 4 (Freq) ความถี่ที่รับ ซึ่งจะมีความละเอียดมาก ถ้าความถี่คลาดเคลื่อนเกินกว่า 200 Hz ซึ่งออกไปนอก Passband 1400-1600 Hz ก็จะรับสัญญาณไม่ได้
ตัวเลขที่ 5 (Drift) บอกความถี่คลาดเคลื่อนขณะส่ง ซึ่งตัวเลขที่ถ้าเครื่องส่งมีคุณภาพไม่ได้ มี Drift มาก การส่งจะไม่นิ่ง ทำให้ถอดข้อมูลไม่ได้ ตัวเลขที่ใช้วัดคุณภาพของเครื่องได้เลยว่าผลิตความถี่นิ่งแค่ไหน
ตำแหน่งที่ 6 เป็นสัญญาณเรียกขานของสถานีที่ส่ง
ตำแหน่งที่ 7 เป็นตำแหน่ง Grid locator ของสาถนีที่ส่ง
ตัวเลขตำแหน่งที่ 8 คือกำลังส่งของสถานีส่งเป็น dB
ตัวเลขตัวสุดท้ายคือระยะทางระหว่างสถานีรับและสถานีส่ง
ถ้าจะเริ่มใช้งาน WSPR ต้องมีอะไรบ้าง
สิ่งที่จำเป็นต้องมีเลยคือเครื่องวิทยุที่สามารถใช้งาน Mode SSB ได้ และคอมพิวเตอร์
จากนั้นก็เตรียมสาย Audio Jack สำหรับเอาสัญญาณเสียงจากเครื่องวิทยุ ไปเข้า Sound Card ของคอมพิวเตอร์ จะทาง Line-in หรือ Mic ก็ได้เหมือนกันหมด อันนี้กรณีรับอย่างเดียว หากต้องการส่งด้วยต้องมี Sound Card Interface หรือถ้ามี CAT Interface สำหรับต่อกับวิทยุได้ก็สะดวกดี
เมื่อเตรียมอุปกรณ์ครบแล้ว ต่อมาก็ติดตั้ง Software WSJT-X สามารถ Download ได้ที่นี่เลย
https://www.physics.princeton.edu/pulsar/K1JT/wsjtx.html
ติดตั้งก็ไม่ยากกด Next รัวๆ จนจบ
ติดตั้งแล้วก็ต้องมาตั้งค่าให้ถูกต้องสำหรับ Mode WSPR
File -> Settings...
Tab General
My Call: ใส่ Call sign ของเราลงไป
My Grid: ใส่ Grid locator ของเราลงไป ให้ใส่แบบ 6 หลัก
Tab Audio เลือก Sound Card Input และ Output ให้ถูกต้อง
เลือก Serial Port ของ Sound Card Interface
PTT Method ก็เลือกให้ตรง ถ้าเป็น CAT ให้เลือก CAT แล้วตั้งค่าความเร็ว Serial Port ให้ตรงตามรุ่นเครื่องที่ใช้งาน
ถ้าทำครบแล้วก็กด OK
เลือกไปที่ Mode -> WSPR
ดูที่ปุ่ม Monitor ถ้าไม่เป็นสีเขียว ให้กดเป็นสีเขียว ถ้าทุกอย่างถูกต้องโปรแกรมจะเริ่มรับสัญญาณเข้ามาโดยจะต้องปรับความถี่วิทยุไปที่ความถี่ของ WSPR ต่อไปนี้
USB dial (MHz): 0.136, 0.4742, 1.8366, 3.5686, 5.2872, 7.0386, 10.1387, 14.0956, 18.1046, 21.0946, 24.9246, 28.1246, 50.293, 70.091, 144.489, 432.300, 1296.500
ถ้าความถี่ 2m ปรับไปที่ 144.489 MHz
เมื่อมีสัญญาณเข้ามา ลักษณะจเป็นขีดเส้นตรงยาว แบบในภาพ
ที่สำคัญคือต้องปรับความถี่ให้เส้นขีด อยู่ใน Passband ระหว่าง 1400-1600 Hz โปรแกรมจึงจะรับได้และถอดข้อมูล ถ้าเส้นไปอยู่นอก Passband นี่ก็จะรับไมไ่ด้ เราต้องปรับความถี่หน้าเครื่อง ขึ้น หรือลง เล็กน้อยให้ตรง Passsband ตรงนี้จะเป็นตัวบอกว่าความถี่หน้าจอวิทยุ กับความถี่ที่ส่งจริงๆ คลาดเคลื่อนไปมากน้อยเท่าไหร่
ท้ายสุดอย่างลืมกดเลือกที่ Upload spots เพื่อส่งไปแสดงผลการรับที่ Website ที่ http://wsprnet.org/
คิดว่าเพียงเท่านี้ก็สามารถเริ่มต้นใช้งาน Mode WSPR ได้แล้ว
73 HS2JFW
ขอทราบวิธีการตั้งค่าเครื่อง 9700 เพื่อเล่น WSPR ด้วยครับผม
ReplyDelete