มีประเด็นที่อาจต้องทำความเข้าใจเพิ่มสักนิดจากข้อสรุปที่ออกมา คือ ความถี่สำหรับการติดต่อสื่อสารประเภทเสียงโดยเชื่อมโยงผ่านโครงข่ายอื่น ดังสรุป
ก็เป็นที่น่ายินดีกว่า จะได้มีความถี่เป็นการเฉพาะกันเสียทีสำหรับสถานีประเภทนี้หลังจากใช้ปะปนกันการสื่อสารประเภทอื่นๆ มากันตั้งแต่เริ่มต้น ของใหม่ก็ได้มีกำหนดเอาไว้ให้ถึง 7 ช่องความถี่ด้วยกัน เอามาให้ดูกันว่า 7 ช่องดังกล่าวมีอะไรบ้างจากร่างที่กำหนด
ช่วงแรกกำหนดไว้ 5 ช่องความถี่ดังนี้
และช่วงที่ 2 กำหนดไว้อีก 2 ช่องความถี่
ซึ่งดูแล้วก็ไม่น่าจะมีอะไรให้สงสัย หรือต้องเพิ่มรายละเอียดอีก แต่ก็ต้องบอกว่าต้องมีการขยายความเพิ่มอีกสักนิด เพื่อให้การใช้งานไม่เกิดปัญหาตามมาเหมือนที่เคยเกิดขึ้น
มาดูสิ่งที่ได้เสนอไปว่าเป็นอย่างไร
และ
สิ่งที่แตกต่างกันก็คือมีการแยกประเภท หรือชนิดของการติดต่อสื่อสารประเภทนี้ไว้ชัดเจนเป็น 2 ชนิด ได้แก่ Analog และ Digital ด้วยเหตุที่มีการใช้งานของทั้ง 2 รูปแบบนี้ และแนวโน้มเทคโนโลยีกำลังก้าวไปสู่เสียง Digital มากขึ้น ด้วยมีเหตุผลหลายประการ คงไม่กล่าวถึงในที่นี้ หากไม่มีการจำแนกความถี่ไว้ชัดเจน ก็จะเกิดปัญหาการรบกวนกัน ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ หรือใช้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เหตุผลที่แยกออกมาชัดเจน มีดังนี้
1. แถบความถี่เดิม 144-146MHz กำหนดให้ เสียง Analog 4 ความถี่ และเสียง Digital 1 ความถี่ เพื่อรองรับเครื่องวิทยุสื่อสารเดิมที่ไม่สามารถขยายเกินกว่า 146MHz ได้
2. แถบความถี่ใหม่ กำหนดให้เสียง Digital เพิ่มอีก 2 ความถี่ เนื่องจากเป็น Mode ใหม่ สามารถใช้เครื่องมือสื่อสารใหม่ที่สามารถใช้งานความถี่ช่วงใหม่ได้แล้ว
อาจเป็นความหวังดี หรือยังไม่เข้าใจ ของการสรุปผลการรับฟังที่ไม่ชัดเจน หากนำมารวมกันปัญหาใหญ่จะตกอยู่ที่กลุ่ม Analog เพราะระบบไม่สามารถคัดกรองสัญญาณได้ จะได้รับสัญญาณทั้ง Analog และ Digital เข้าไปทั้งหมด ถ้าใช้งานร่วมความถี่เดียวกัน ซึ่งแตกต่างจากระบบ Digital ที่จะไม่รับสัญญาณ Analog เลย ระบบจะเปิดและทำงานเฉพาะสัญญาณ Digital เท่านั้น
หากประกาศกำหนดมาแบบกว้างเช่นนี้ ท้ายที่สุดก็จำเป็นจะต้องมีการจัดการที่ดี ระหว่างระบบที่เป็น Analog และ Digital
หมายเหตุ
- ระบบเสียง Analog ได้แก่ Echolink, e-QSO, WIRES-II เป็นต้น
- ระบบเสียง Digital ได้แก่ P-25, D-STAR, DMR, C4FM (4FSK) เป็นต้น
No comments:
Post a Comment