Wednesday, September 11, 2013

ข้อกำหนดการใช้ความถี่ (Band plan) ช่วง 28-29.7 MHz

28 MHz (10m) Necessary  การใช้งาน
Bandwidth
28,000-28,070 200 Hz CW
28,055 kHz   QRS ความถี่กลางสำหรับผู้ใช้งาน CW ความเร็วต่ำ
28,060 kHz   QRP ความถี่กลางสำหรับสถานีกำลังส่งต่ำ CW
28,070-28,120 500 Hz Narrow band modes
28,120-28,150 500 Hz Narrow band modes - สถานีที่ทำงานใน Data mode ส่งแบบอัตโนมัติ
28,150-28,190 500 Hz Narrow band modes
28,190-28,199 IBP - regional time shared beacons
28,199-28,201 IBP - world wide time shared beacons
28,201-28,225 IBP - continuous-duty beacons
28,225-28,300 2.7 kHz All modes - Beacons
28,300-28,320 2.7 kHz All modes - สถานีที่ทำงานใน Data mode ส่งแบบอัตโนมัติ
28,320-29,100 2.7 kHz 28,330 kHz - ความถี่กลางสำหรับ Digital Voice
28,360 kHz - QRP ความถี่กลางสำหรับสถานีกำลังส่งต่ำ Voice
28,680 kHz - ความถี่กลางสำหรับการรับ-ส่งภาพ (Image)
29,100-29,200 6 kHz All modes - การติดต่อสื่อสารด้วยการผสมคลื่นแบบ FM Simplex
 ระยะห่างระหว่างช่อง 10kHz
29,200-29,300 6 kHz All modes - สถานีที่ทำงานใน Data mode ส่งแบบอัตโนมัติ
29,210 kHz  FM Analog Internet Voice Gateway
29,210 kHz  FM Analog Internet Voice Gateway
29,300-29,510 6 kHz Satellite down-links ภาครรับสำหรับดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น
29,510-29,520 Guard channel
29,520-29,590 6 kHz All modes - FM repeater inputs (RH1-RH8) ภาครับของสถานีทวนสัญญาณ
จำนวน 8 คู่
29,530 kHz Internet voice gateway สำหรับสถานีทวนสัญญาณคู่ที่ 2 (RH2)
29,600 6 kHz All modes - FM calling channel ช่องเรียกขานใน Mode FM
29,610 6 kHz All modes - FM simplex repeater (parrot) - input and output
 สำหรับระบบทวนสัญญาณแบบ Simplex
29,620-29,700 6 kHz All modes - FM repeater outputs (RH1-RH8) ภาคส่งของสถานีทวนสัญญาณ
จำนวน 8 คู่
29,630 kHz  FM Analog Internet Voice Gateway สำหรับสถานีทวนสัญญาณ
คู่ที่ 2 (RH2)
NOTES:  Amateur and Amateur Satellite Service - Primary User

ตารางกำหนดการใช้ความถี่ 28-29.7 MHz

ข้อกำหนดนี้เป็นไปตามข้อกำหนดการใช้งานความถี่ของ IARU ภูมิภาคที่ 3 และกิจการวิทยุสมัครเล่นระหว่างประเทศ


ที่มา : IARU-R3 Band plan

Tuesday, September 10, 2013

แนวทางการใช้งานความถี่ 28-29.7MHz ของพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น

จากที่ กสทช ได้เห็นประโยชน์และความสำคัญของนักวิทยุสมัครเล่น และได้พิจารณามีความเห็นแล้วว่าสมควรให้พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นสามารถใช้งานความถี่ย่าน 10 เมตร ความถี่ 28.000 - 29.700MHz ด้วยมีวัตถุประสงเพื่อใช้เป็นความถี่สำหรับการศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารระดับนานาชาติว่ามีหลักปฏิบัติอย่างไร เพื่อเป็นแรงจูงใจนำไปสู่การพัฒนาตนเองเลื่อนระดับไปสู่การเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นระดับที่สูงขึ้น

แต่เนื่องด้วยพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นที่ผ่านการสอบ และการอบรมและสอบ ที่ผ่านมาทั้งหมด ยังไม่มีความรู้และความเข้าใจที่ดีเพียงพอที่จะเข้าใช้งานความถี่ใหม่ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมากกับความถี่ 144MHz ที่ทั้งหมดคุ้นเคยอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสายอากาศ ลักษณะการแพร่กระจายคลื่น เทคนิคและวิธีการติดต่อสื่อสารแบบสากล การแลกเปลี่ยนบัตรยืนยันการติดต่อสื่อสาร (QSL Card) และที่สำคัญที่สุดแผนการใช้งานความถี่ย่าน 10m หรือ Band plan ที่จะกำหนดให้นักวิทยุสมัครเล่นได้ทราบว่าช่วงความถี่ใด สามารถใช้งานประเภทการติดต่อสื่อสารแบบใดได้บ้าง

ด้วยเหตุนี้เองจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นที่จะเข้าใช้งานความถี่ใหม่นั้นต้องมีความพร้อม มีความรู้ ความเข้าใจที่ดีเพียงพอที่จะไม่ก่อนให้เกิดการรบกวนระหว่างกัน รวมไปถึงการรบกวนระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นความถี่ที่สามารถใช้ติดต่อสื่อสารได้ไกลข้ามประเทศ

และการที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นจะใช้งานความถี่ใหม่ จำเป็นจะต้องได้รับการอนุญาตเพิ่มเติมจาก กสทช ด้วยอยู่แล้ว ไม่สามารถเข้าใช้งานได้ก่อนที่จะได้รับอนุญาตเพิ่มเติม

ดังนั้นจึงมาคิดต่อว่าจะทำอย่างไรให้นักวิทยุสมัครเล่นที่สนใจได้รับความรู้เพิ่มเติม ซึ่งก็มีหลายวิธี เช่น

ทำหนังสือหรือคู่มือ แล้วเผยแพร่ออกไปให้อ่าน และศึกษา แล้วกลับมาสอบเพื่อรับใบอนุญาตเฉพาะความถี่ 10m วิธีนี้เมื่อคิดถึงการจัดการแล้วก็จะยุ่งยากว่าใครจะเป็นผู้จัดการสอบ กสทช ก็มีภารกิจที่ต้องทำมากอยู่แล้ว ไม่มีเวลาทำทำข้อสอบ ตรวจข้อสอบ ประกาศผลสอบ คงไม่ใช่หน้าที่ กสทช เพราะหน้าที่เขาคือ ออกใบอนุญาตและกำกับดูแลให้เป็นไปตามใบอนุญาต

ก็ได้คิดต่อไปว่าถ้าอย่างนั้นให้องค์กรใดสักองค์กรหนึ่งดำเนินการได้หรือไม่ ซึ่งสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (RAST) เป็นองค์การตัวแทนของวิทยุสมัครเล่นไทยในระดับนานาชาติ ที่เป็นสมาชิกของ International Amateur Radio Union (IARU) มีบุคลากรที่มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่น ในความถี่ย่าน 10m เป็นอย่างดี น่าจะทำหน้าที่นี้ได้

การจัดสอบโดยที่นักวิทยุสมัครเล่นจะต้องเดินทางมาจากทั่วประเทศ หรือไปจัดสอบทั่วประเทศนั้น เป็นการเสียเวลา เสียเงินจำนวนมาก รวมถึงต้องใช้บุคลากรและเจ้าหน้าที่จำนวนมาก น่าจะมีวิธีการที่ดีกว่านี้หรือเปล่าในการให้ความรู้กับนักวิทยุสมัครเล่นจากทั่วประเทศ ซึ่งก็จะพบว่าปัจจุบันเรามีนักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางที่เป็นสมาชิกของ RAST กระจายอยู่ทั่วประเทศอยู่แล้ว และนักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางเหล่านี้ก็เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานความถี่ย่าน 10m เป็นอย่างดีอยู่แล้ว

พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางเหล่านี้น่าจะสามารถให้ความรู้กับพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นที่สนใจได้ และอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง เพียงแต่ RAST จะต้องรับรองให้พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางที่ประสงค์จะอาสาเข้ามาทำหน้าที่นี้เป็นตัวแทนของ RAST ในการให้ความรู้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด

จากนั้นอาสาสมัครจะต้องส่งข้อมูลต่างๆ มาให้ RAST เพื่อออกหนังสือรับรอง และนำไปประกอบการขออนุญาตใช้งานความถี่ 10m กับ กสทช ต่อไป

สิ่งที่ต้องกำหนดต่อไปคือ

จัดตั้งคณะอนุกรรมของสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปภัมภ์ มาทำหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. กำหนดหลักเกณฑ์การเป็นอาสาสมัคร
  2. กำหนดหน้าที่ของอาสาสมัคร
  3. พิจารณารับรองอาสาสมัครตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
  4. พิจารณายกเลิกการรับรองอาสาสมัคร
  5. จัดทำคู่มือการใช้งานความถี่ 28-29.7MHz
  6. ออกหนังสือรับรองให้กับพนักงานวิทยุสมัครเล่น
  7. จัดทำและปรับปรุงข้อมูลรายชื่ออาสาสมัครและผู้ที่ได้รับหนังสือรับรองและเผยแพร่
  8. พิจารณารายงานการใช้ความถี่จากอาสาสมัคร

ยังไม่จบเพียงเท่านี้ยัง หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของอาสาสมัครก็คือจะต้องเฝ้าฟังและรายงานการใช้ความถี่ที่ไม่เหมาะสมมายังคณะอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณาประกอบการออกหนังสือรับรองสำหรับยื่นประกอบการขอขอใบอนุญาตครั้งต่อไป เมื่อใบอนุญาตของพนักงานวิทยุสมัครเล่นหมดอายุ

ข้อเสนอให้ปรับปรุงการใช้งานความถี่ช่วง 144-146.5MHz ใหม่

การใช้งานความถี่ช่วง 144-146.5 MHz นี้เป็น ความคิดที่ได้มีโอกาสนำเสนอในช่วงที่มีการรับฟังความคิดเห็นหลายครั้งที่ผ่านมา ก่อนฉบับร่างจะออกมาแจกจ่ายทั่วไป ซึ่งมีหลายท่านได้ส่งแนวคิดเข้าไปด้วยเช่นกัน หลังจากที่ได้เห็นฉบับร่างที่ออกมา (ล่าสุด) และนำมาเปรียบเทียบกับที่ได้นำเสนอไป ก็พบว่ามีหลายส่วนที่ไม่ตรงกันอยู่ อาจด้วยเหตุผลหลายประการ แต่อย่างไรก็ตามจะขอยืนยันให้ปรับเปลี่ยนตามที่ได้เคยเสนอไว้ก่อนหน้า อีกครั้งในการรับฟังความคิดเห็นรอบที่กำลังจะมีขึ้นเร็วๆ นี้

ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

๓.     การใช้คลื่นความถี่ ๑๔๔ - ๑๔๖.๕ MHz
         ๓.๑   กำหนดคลื่นความถี่ ๑๔๔.๐๐๐๐ - ๑๔๔.๑๐๐๐ MHz สำหรับการติดต่อสื่อสารสัญญาณแบบคลื่นต่อเนื่อง (CW) และการติดต่อสื่อสารด้วยการสะท้อนคลื่นวิทยุจากผิวดวงจันทร์ (EME) โดยคลื่นความถี่ ๑๔๔.๐๕๐๐ MHz เป็นช่องเรียกขานสำหรับ CW
         ๓.๒   กำหนดคลื่นความถี่ ๑๔๔.๑๐๐๐ - ๑๔๔.๑๕๐๐ MHz สำหรับการติดต่อสื่อการติดต่อสื่อสารสัญญาณแบบคลื่นต่อเนื่อง (CW) และการติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องจักรกำเนิดสัญญาณ (MGM) การติดต่อสื่อสารด้วยการสะท้อนคลื่นวิทยุจากผิวดวงจันทร์ (EME)
         ๓.๓   กำหนดคลื่นความถี่ ๑๔๔.๑๕๐๐ - ๑๔๔.๓๗๕๐ MHz สำหรับการติดต่อสื่อสารด้วยการผสมคลื่นแบบ SSB และการติดต่อสื่อสารสะท้อนหางดาวตก (MS) โดยคลื่นความถี่ ๑๔๔.๒๐๐๐ MHz เป็นช่องเรียกขานสำหรับ SSB
         ๓.๔   กำหนดคลื่นความถี่ ๑๔๔.๓๗๕๐ - ๑๔๔.๕๐๐๐ MHz สำหรับการติดต่อสื่อสารประเภทอื่น  ดังนี้
                 ๓.๔.๑ กำหนดคลื่นความถี่ ๑๔๔.๓๙๐๐ MHz สำหรับการสื่อสารระบบกำหนดตำแหน่งสถานีวิทยุสมัครเล่นอัตโนมัติ (Automatic Packet Reporting System : APRS)
                 ๓.๔.๑ กำหนดคลื่นความถี่ ๑๔๔.๔๑๒๕ -  ๑๔๔.๔๓๗๕ MHz สำหรับการติดต่อสื่อสารประเภทอื่น ได้แก่ การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณข้อมูล (Data หรือ Packet radio) การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณวิทยุโทรพิมพ์ (RTTY) การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณภาพ (Image) การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณโทรทัศน์แบบสแกนช้า (SSTV) การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณแบบคลื่นต่อเนื่องที่มีการมอดูเลต (MCW)
                 ๓.๔.๑ กำหนดคลื่นความถี่ ๑๔๔.๔๕๐๐ -  ๑๔๔.๔๙๐๐ MHz สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภทให้สัญญาณ (Beacon)  เท่านั้น
                 ๓.๔.๑ กำหนดคลื่นความถี่ ๑๔๔.๔๙๐๐ MHz สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภทให้สัญญาณ (Beacon) แบบ WSPR เท่านั้น
         ๓.๕   กำหนดคลื่นความถี่ ๑๔๕.๘๐๐๐ - ๑๔๖.๐๐๐๐ MHz สำหรับการรับส่งสัญญาณระหว่างดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นกับสถานีวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น ห้ามใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีวิทยุสมัครเล่นภาคพื้นดินอย่างเด็ดขาด
         ๓.๖   กำหนดคลื่นความถี่ ๑๔๔.๕๑๒๕ ๑๔๕.๗๘๗๕ MHz  และ ๑๔๖.๐๑๒๕ ๑๔๖.๔๘๗๕ MHz สำหรับการรับส่งสัญญาณระหว่างสถานีวิทยุสมัครเล่นโดยกำหนดช่องความถี่วิทยุเป็นดังนี้
ช่องที่
คลื่นความถี่ (MHz)
ชื่อช่อง
ลักษณะการใช้งาน
๑๔๔.๕๑๕๒
V1
FM Simplex
๑๔๔.๕๒๕๐
V2
FM Simplex
๑๔๔.๕๓๗๕
V3
FM Simplex
๑๔๔.๕๕๐๐
V4
FM Simplex
๑๔๔.๕๖๒๕
V5
FM Simplex
๑๔๔.๕๗๕๐
V6
FM Simplex
๑๔๔.๕๘๗๕
V7
FM Simplex
๑๔๔.๖๐๐๐
V8
FM Simplex
๑๔๔.๖๑๒๕
V9
FM Simplex
๑๐
๑๔๔.๖๒๕๐
V10
FM Simplex
๑๑
๑๔๔.๖๓๗๕
V11
FM Simplex
๑๒
๑๔๔.๖๕๐๐
V12
FM Simplex
๑๓
๑๔๔.๖๖๒๕
V13
FM Simplex
๑๔
๑๔๔.๖๗๕๐
V14
FM Simplex
๑๕
๑๔๔.๖๘๗๕
V15
FM Simplex
๑๖
๑๔๔.๗๐๐๐
V16
FM Simplex
๑๗
๑๔๔.๗๑๒๕
V17
FM Simplex
๑๘
๑๔๔.๗๒๕๐
V18
FM Simplex
๑๙
๑๔๔.๗๓๗๕
V19
FM Simplex
๒๐
๑๔๔.๗๕๐๐
V20
FM Simplex
๒๑
๑๔๔.๗๖๒๕
V21
FM Simplex
๒๒
๑๔๔.๗๗๕๐
V22
FM Simplex
๒๓
๑๔๔.๗๘๗๕
V23
FM Simplex
๒๔
๑๔๔.๘๐๐๐
V24
FM Simplex
๒๕
๑๔๔.๘๑๒๕
V25
FM Simplex
๒๖
๑๔๔.๘๒๕๐
V26
FM Simplex
๒๗
๑๔๔.๘๓๗๕
V27
FM Simplex
๒๘
๑๔๔.๘๕๐๐
V28
FM Simplex
๒๙
๑๔๔.๘๖๒๕
V29
FM Simplex
๓๐
๑๔๔.๘๗๕๐
V30
FM Simplex
๓๑
๑๔๔.๘๘๗๕
V31
FM Simplex
๓๒
๑๔๔.๙๐๐๐
V32
สำหรับเรียกขานและแจ้งเหตุทั่วไป (General notice and Calling)
๓๓
๑๔๔.๙๑๒๕
V33
FM Simplex
๓๔
๑๔๔.๙๒๕๐
V34
FM Simplex
๓๕
๑๔๔.๙๓๗๕
V35
FM Simplex
๓๖
๑๔๔.๙๕๐๐
V36
FM Simplex
๓๗
๑๔๔.๙๖๒๕
V37
FM Simplex
๓๘
๑๔๔.๙๗๕๐
V38
FM Simplex
๓๙
๑๔๔.๙๘๗๕
V39
FM Simplex
๔๐
๑๔๕.๐๐๐๐
V40
สำหรับเรียกขานและแจ้งเหตุฉุกเฉิน (Emergency, Distress and Calling) และกำหนดเป็นคลื่นความถี่กลางสำหรับประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐและพนักงานวิทยุสมัครเล่น
๔๑
๑๔๕.๐๑๒๕
RD1-In
คลื่นความถี่ภาครับสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Digital (Digital Voice Repeater)
๔๒
๑๔๕.๐๒๕๐
RV1-In
คลื่นความถี่ภาครับสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๔๓
๑๔๕.๐๓๗๕
RV2-In
คลื่นความถี่ภาครับสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๔๔
๑๔๕.๐๕๐๐
RV3-In
คลื่นความถี่ภาครับสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๔๕
๑๔๕.๐๖๒๕
RV4-In
คลื่นความถี่ภาครับสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๔๖
๑๔๕.๐๗๕๐
RV5-In
คลื่นความถี่ภาครับสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๔๗
๑๔๕.๐๘๗๕
RV6-In
คลื่นความถี่ภาครับสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๔๘
๑๔๕.๑๐๐๐
RV7-In
คลื่นความถี่ภาครับสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๔๙
๑๔๕.๑๑๒๕
RV8-In
คลื่นความถี่ภาครับสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๕๐
๑๔๕.๑๒๕๐
RV9-In
คลื่นความถี่ภาครับสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๕๑
๑๔๕.๑๓๗๕
V41
FM Simplex
๕๒
๑๔๕.๑๕๐๐
V42
FM Simplex
๕๓
๑๔๕.๑๖๒๕
V43
FM Simplex
๕๔
๑๔๕.๑๗๕๐
V44
FM Simplex
๕๕
๑๔๕.๑๘๗๕
V45
FM Simplex
๕๖
๑๔๕.๒๐๐๐
V46
FM Simplex
๕๗
๑๔๕.๒๑๒๕
V47
FM Simplex
๕๘
๑๔๕.๒๒๕๐
V48
FM Simplex
๕๙
๑๔๕.๒๓๗๕
V49
FM Simplex
๖๐
๑๔๕.๒๕๐๐
V50
FM Simplex
๖๑
๑๔๕.๒๖๒๕
V51
FM Simplex
๖๒
๑๔๕.๒๗๕๐
V52
FM Simplex
๖๓
๑๔๕.๒๘๗๕
V53
FM Simplex
๖๔
๑๔๕.๓๐๐๐
V54
FM Simplex
๖๕
๑๔๕.๓๑๒๕
V55
FM Simplex
๖๖
๑๔๕.๓๒๕๐
V56
FM Simplex
๖๗
๑๔๕.๓๓๗๕
V57
FM Simplex
๖๘
๑๔๕.๓๕๐๐
V58
FM Simplex
๖๙
๑๔๕.๓๖๒๕
V59
FM Simplex
๗๐
๑๔๕.๓๗๕๐
V60
FM Simplex
๗๑
๑๔๕.๓๘๗๕
V61
FM Simplex
๗๒
๑๔๕.๔๐๐๐
V62
FM Simplex
๗๓
๑๔๕.๔๑๒๕
V63
FM Simplex
๗๔
๑๔๕.๔๒๕๐
V64
FM Simplex
๗๕
๑๔๕.๔๓๗๕
V65
FM Simplex
๗๖
๑๔๕.๔๕๐๐
V66
FM Simplex/กิจกรรมพิเศษ
๗๗
๑๔๕.๔๖๒๕
V67
FM Simplex/กิจกรรมพิเศษ
๗๘
๑๔๕.๔๗๕๐
V68
FM Simplex/กิจกรรมพิเศษ
๗๙
๑๔๕.๔๘๗๕
V69
FM Simplex/กิจกรรมพิเศษ
๘๐
๑๔๕.๕๐๐๐
RV10-In
คลื่นความถี่ภาครับสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๘๑
๑๔๕.๕๑๒๕
RV11-In
คลื่นความถี่ภาครับสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๘๒
๑๔๕.๕๒๕๐
RV12-In
คลื่นความถี่ภาครับสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๘๓
๑๔๕.๕๓๗๕
RV13-In
คลื่นความถี่ภาครับสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๘๔
๑๔๕.๕๕๐๐
RV14-In
คลื่นความถี่ภาครับสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๘๕
๑๔๕.๕๖๒๕
RV15-In
คลื่นความถี่ภาครับสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๘๖
๑๔๕.๕๗๕๐
RV16-In
คลื่นความถี่ภาครับสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๘๗
๑๔๕.๕๘๗๕
RD2-In
คลื่นความถี่ภาครับสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Digital
๘๘
๑๔๕.๖๐๐๐
RD3-In
คลื่นความถี่ภาครับสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Digital
๘๙
๑๔๕.๖๑๒๕
RD1-Out
คลื่นความถี่ภาคส่งสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Digital
๙๐
๑๔๕.๖๒๕๐
RV1-Out
คลื่นความถี่ภาคส่งสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๙๑
๑๔๕.๖๓๗๕
RV2-Out
คลื่นความถี่ภาคส่งสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๙๒
๑๔๕.๖๕๐๐
RV3-Out
คลื่นความถี่ภาคส่งสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๙๓
๑๔๕.๖๖๒๕
RV4-Out
คลื่นความถี่ภาคส่งสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๙๔
๑๔๕.๖๗๕๐
RV5-Out
คลื่นความถี่ภาคส่งสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๙๕
๑๔๕.๖๘๗๕
RV6-Out
คลื่นความถี่ภาคส่งสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๙๖
๑๔๕.๗๐๐๐
RV7-Out
คลื่นความถี่ภาคส่งสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๙๗
๑๔๕.๗๑๒๕
RV8-Out
คลื่นความถี่ภาคส่งสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๙๘
๑๔๕.๗๒๕๐
RV9-Out
คลื่นความถี่ภาคส่งสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๙๙
๑๔๕.๗๓๗๕
IG1
สำหรับ FM Internet voice gateway
๑๐๐
๑๔๕.๗๕๐๐
IG2
สำหรับ FM Internet voice gateway
๑๐๑
๑๔๕.๗๖๒๕
IG3
สำหรับ FM Internet voice gateway
๑๐๒
๑๔๕.๗๗๕๐
IG4
สำหรับ FM Internet voice gateway
๑๐๓
๑๔๕.๗๘๗๕
DV1
สำหรับ Digital Voice Internet voice gateway
๑๐๔
๑๔๖.๐๑๒๕
V70
FM Simplex
๑๐๕
๑๔๖.๐๒๕๐
V71
FM Simplex
๑๐๖
๑๔๖.๐๓๗๕
V72
FM Simplex
๑๐๗
๑๔๖.๐๕๐๐
V73
FM Simplex
๑๐๘
๑๔๖.๐๖๒๕
V74
FM Simplex
๑๐๙
๑๔๖.๐๗๕๐
V75
FM Simplex
๑๑๐
๑๔๖.๐๘๗๕
V76
FM Simplex
๑๑๑
๑๔๖.๑๐๐๐
RV10-Out
คลื่นความถี่ภาคส่งสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๑๑๒
๑๔๖.๑๑๒๕
RV11-Out
คลื่นความถี่ภาคส่งสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๑๑๓
๑๔๖.๑๒๕๐
RV12-Out
คลื่นความถี่ภาคส่งสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๑๑๔
๑๔๖.๑๓๗๕
RV13-Out
คลื่นความถี่ภาคส่งสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๑๑๕
๑๔๖.๑๕๐๐
RV14-Out
คลื่นความถี่ภาคส่งสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๑๑๖
๑๔๖.๑๖๒๕
RV15-Out
คลื่นความถี่ภาคส่งสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๑๑๗
๑๔๖.๑๗๕๐
RV16-Out
คลื่นความถี่ภาคส่งสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Analog
๑๑๘
๑๔๖.๑๘๗๕
RD2-Out
คลื่นความถี่ภาคส่งสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Digital
๑๑๘
๑๔๖.๒๐๐๐
RD3-Out
คลื่นความถี่ภาคส่งสถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Digital
๑๒๐
๑๔๖.๒๑๒๕
DV2
สำหรับ Digital Voice Internet voice gateway
๑๒๑
๑๔๖.๒๒๕๐
DV3
สำหรับ Digital Voice Internet voice gateway
๑๒๒
๑๔๖.๒๓๗๕
V77
FM Simplex
๑๒๓
๑๔๖.๒๕๐๐
V78
FM Simplex
๑๒๔
๑๔๖.๒๖๒๕
V79
FM Simplex
๑๒๕
๑๔๖.๒๗๕๐
V80
FM Simplex
๑๒๖
๑๔๖.๒๘๗๕
V81
FM Simplex
๑๒๗
๑๔๖.๓๐๐๐
V82
FM Simplex
๑๒๘
๑๔๖.๓๑๒๕
V83
FM Simplex
๑๒๙
๑๔๖.๓๒๕๐
V84
FM Simplex
๑๓๐
๑๔๖.๓๓๗๕
V85
FM Simplex
๑๓๑
๑๔๖.๓๕๐๐
V86
FM Simplex
๑๓๒
๑๔๖.๓๖๒๕
V87
FM Simplex
๑๓๓
๑๔๖.๓๗๕๐
V88
FM Simplex
๑๓๔
๑๔๖.๓๘๗๕
V89
FM Simplex
๑๓๕
๑๔๖.๔๐๐๐
V90
FM Simplex
๑๓๖
๑๔๖.๔๑๒๕
V91
FM Simplex
๑๓๗
๑๔๖.๔๒๕๐
V92
FM Simplex
๑๓๘
๑๔๖.๔๓๗๕
V93
FM Simplex
๑๓๙
๑๔๖.๔๕๐๐
V94
FM Simplex
๑๔๐
๑๔๖.๔๖๒๕
V95
FM Simplex
๑๔๑
๑๔๖.๔๗๕๐
V96
FM Simplex
๑๔๒
๑๔๖.๔๘๗๕
V97
FM Simplex




เหตุผลประกอบการพิจารณา

ประเด็นแรก
จากฉบับร่างได้เพิ่มความถี่ให้จำนวน 500 kHz ช่วงความถี่ 146.000 - 146.500 MHz และได้มีการปรับย้ายสถานีทวนสัญญาณขึ้นไปใช้งานช่วงความถี่ดังกล่าวทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะมีความติดขัดอยู่บ้างด้วยเหตุผลที่เครื่องวิทยุสื่อสารที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้รับอนุญาตให้ใช้งานในช่วง 144.000 - 146.000 MHz เท่านั้น ดังนั้นในวันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ จะทำให้นักวิทยุสมัครเล่นไม่สามารถใช้งานได้เลยในทันที ซึ่ง ณ เวลานี้ยังไม่มีความชัดเจนถึงแนวทางการอนุญาตเรื่องเครื่องวิทยุสื่อสารที่จะนำมาใช้ซึ่งก็มีได้หลายแนวทาง คือ
1. อนุญาตให้นักวิทยุใช้เครื่องวิทยุสื่อสารเดิม ปรับแต่งให้ใช้งานได้ (วิธีนี้ดูจะเป็นไปไม่ได้)
2. นักวิทยุสมัครเล่นจะต้องจัดหาเครื่องวิทยุสื่อสารใหม่ตามข้อกำหนดใหม่ ซึ่งมีแนวทางที่เป็นไปได้อีกหลายแนวทาง คือ
2.1 เครื่องที่มีความถี่เฉพาะ 144.000 - 146.500 MHz
2.2 เครื่องที่มีความถี่เฉพาะ 144.000 - 147.000 MHz
2.3 เครื่องที่มีความถี่เฉพาะ 144.000 - 148.000 MHz
ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันไป

ถ้า กสทช เลือกแนวทางที่ 1 หลักเกณฑ์การใช้ความถี่ที่กำหนดก็ไม่ติดขัดประการใด แต่ถ้าเลือกใช้แนวทางที่ 2 ปัญหาคือนักวิทยุสมัครเล่นไม่มีอุปกรณ์ที่จะใช้งานในทันที ต้องรอกระบวนการอีกยาวนานกว่าจะมีเครื่องนำเข้ามาจำหน่ายใหม่ ทำให้สูญเสียโอกาสในการใช้งานไป ซึ่งความเป็นไปได้มากที่สุดคือเลือแนวทางที่ 2 แบบ 2.3 คืออนุญาติให้ใช้เครื่องที่มีความถี่ 144.000 - 148.000 MHz

ยกเว้นกรณี กสทช จะให้หยุดการใช้งานไปจนกว่าจะมีเครื่องวิทยุสื่อสารใหม่เข้ามาจำหน่ายให้กับนักวิทยุสมัครเล่น แล้วถ้าช่วงที่ว่านี้มีนักวิทยุสมัครเล่นคนใดเข้าไปใช้งาน ก็จะมีคำถามตามมาว่า "นำเครื่องที่ถูกต้องตามกฏหมายที่ไหนไปใช้งาน ทั้งที่ยังไม่มีอนุญาตออกไปเลย"

จึงขอเสนอให้ยังคงมีการใช้งานในแถบความถี่เดิมไว้ด้วยบางส่วน และเพิ่มบางส่วนเข้าไปในแถบความถี่ใหม่ ทั้งในส่วนที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ สถานีทวนสัญญาณแบบเสียง Digital (Digital Voice Repeater) และสถานี FM Analog Voice Internet gateway

และเมื่อมีความพร้อมเรื่องเครื่องวิทยุสื่อสารแล้วอาจเป็นอีก 5 ปีข้างหน้า เมื่อถึงเวลานั้นอาจมีการปรับเปลี่ยนการใช้ความถี่ใหม่อีกครั้งเพื่อความเหมาะสม ย่อมสามารถทำได้